วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

15 สิ่งประดิษฐ์สำคัญในรอบ 50 ปี‏

15 สิ่งประดิษฐ์สำคัญในรอบ50ปี

1. เอทีเอ็ม ธนาคารบาเคลยส์ พ.ศ.2510
ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นคนประดิษฐ์เครื่องทำธุรกรรมการเงินอัตโนมัติ หรือ เอทีเอ็ม เครื่องแรก
แต่มีการขอจดสิทธิบัตรสร้างตู้เอทีเอ็มราวๆ 70 ปีก่อนโดยนักประดิษฐ์อเมริกัน ตู้เอทีเอ็มเครื่องแรกของ
โลกเปิดให้บริการโดยธนาคารบาเคลย์ส (Barclays) กรุงลอนดอน อังกฤษ ในปี 2510 ถือเป็นก้าวแรก
ของการทำธุรกรรมการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่นำไปสู่การคิดค้นเทคโนโลยีรหัสรักษาความปลอดภัย (PIN)
รวมทั้งการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต

2. บาร์โค้ด นอร์แมน โจเฟซ วู้ดแลนด์ พ.ศ.2515
ทุกวันนี้พลิกดูบรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าแต่ละชนิดจะต้องพบรหัสบาร์โค้ด นอร์แมน โจเฟซ วู้ดแลนด์ เริ่มคิดค้น
บาร์โค้ดมาตั้งแต่สมัยศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เมื่อมาทำงานที่บริษัท ไอบีเอ็ม จึง
เริ่มคิดค้นอย่างจริงจัง วัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบ จำแนกสินค้าอัตโนมัติ และในปี 2515 ก็สามารถนำเอา
ความก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์กับแสงเลเซอร์มาพัฒนาบาร์โค้ดจนสำเร็จ

3. แผ่นซีดี คลาสส์ คอมพานน์ พ.ศ.2512
ปี 2512 คลาสส์ คอมพานน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ ลูกจ้างบริษัทฟิลิปส์เสนอแนวคิดสร้างแผ่นออพติคัลดิสก์
หรือแผ่นซีดี เพื่อนำมาใช้เก็บข้อมูลเสียงเพลงอย่างคงทนถาวรในรูปแบบไฟล์ดิจิตอลแทนที่การบันทึกลงแผ่นไวนิล
อย่างไรก็ตาม แผ่นซีดีผลิตออกสู่ท้องตลาดจริงๆ ในปี 2525 หลังจากฟิลิปส์กับโซนี่จับมือกันพัฒนาซีดีขึ้นมา
จนปัจจุบันได้กลายเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีคนนิยมใช้มากที่สุดในโลก

4. แกะโคลนนิ่งดอลลี่ เอียน วิลมุต พ.ศ.2540
ปี 2540 เอียน วิลมุต นักวิจัยสถาบันโรสลิน เอดินบะระ สกอตแลนด์ สร้างแกะโคลนนิ่ง ตัวแรกของโลกพร้อมกับ
ตั้งชื่อให้มันว่า ดอลลี่ ดอลลี่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวแรกของโลกที่สร้างโดยกระบวนการคัดลอกแบบทางพันธุกรรม
(โคลนนิ่ง) ด้วยการสกัดเอานิวเคลียส ในไข่ของแกะเพศเมียออก และสอดเอาเซลล์ร่างกาย ของแกะที่ต้องการสร้างเข้า
ไปแทนที่ จุดประกายความหวังในการสร้าง มนุษย์โคลนนิ่ง ท่ามกลางเสียงทักท้วงในโลกตะวันตกว่าหน้าที่สร้างสิ่งมีชีวิต
เป็นของพระเจ้า ไม่ใช่มนุษย์

5. โครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์หลายร้อยคนในสหรัฐ อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส
เยอรมนี และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งใจถอดรหัสการจัดเรียงตัวของ ดีเอ็นเอ หรือ หน่วยพันธุกรรม 3 พันล้านตัวอักษร กระทั่งประสบความ
สำเร็จในเดือนเม.ย. 2546 ช่วยให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์เข้าใจการทำงานของร่างกายคนเราอย่างลึกซึ้งที่สุดในประวัติศาสตร์

6. โทรศัพท์มือถือ มาร์ติน คูเปอร์ พ.ศ.2516
พื้นฐานการสร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไร้สาย หรือ มือถือ มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ 1940 (พ.ศ.2483) แต่ต้องใช้เวลา
ต่อมาอีกหลายสิบปี มาร์ติน คูเปอร์ ถึงจะสามารถประดิษฐ์มือถือเครื่องแรกของโลกให้กับบริษัทโมโตโรลา การใช้งานมือถือ
ขยายตัวไปทั่วโลกเพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจีเอสเอ็มที่ใช้กันแพร่หลายมากกว่า 80 ประเทศ ประกอบกับราคามือถือ
ราคาถูกลงเรื่อยๆ ขณะที่การใช้งานหลากหลายขึ้น ทั้งบริการเอสเอ็มเอส วิดีโอโฟน อี-เมล ถ่ายภาพดิจิตอล ฯลฯ

7. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) พลันที่ ซิลิคอนชิป ถือกำเนิดขึ้น เทคโนโลยีสมองกล ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ก็พัฒนาอย่าง
ก้าวกระโดด เมื่อ 40 ปีก่อน คอมพิวเตอร์มีขนาดพอๆ กับสำนักงาน 1 แห่ง และแล้วปี 2520 พีซีขนาดตั้งโต๊ะเครื่องแรก
แอปเปิล II ก็เผยโฉมขึ้น ตามด้วยพีซีสมรรถภาพสูง IBM ของไอบีเอ็มที่ออกวางตลาดปี 2524 จากนั้นอีก 2 ปีระบบปฏิบัติการ
วินโดวส์ ของไมโครซอฟท์จะช่วยให้พีซีระบาดไปทั่วโลกเพราะใช้งานง่าย

8. ดาวเทียม สหภาพโซเวียต พ.ศ.2500
ทันทีที่ดาวเทียมสปุตนิก ของโซเวียตถูกส่งออกไปนอกโลกเมื่อปี 2500 การแข่งขันด้านอวกาศระหว่าง 2 ชาติยักษ์ใหญ่
ยุคสงครามเย็น สหรัฐอเมริกากับ โซเวียต ก็เปิดฉากเป็นทางการและบีบบังคับให้สหรัฐต้องส่ง �นีล อาร์มสตรอง�
ไปเหยียบดวงจันทร์ในอีกประมาณ 10 กว่าปีต่อมา ถ้าไม่มีดาวเทียม ทุกวันนี้เราก็จะไม่มีคำว่า การสื่อสารไร้พรมแดน และ หมู่บ้านโลก

9. เด็กหลอดแก้ว แพทริก สเต็ปโท-โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ พ.ศ.2521
แพทริก สเต็ปโท นักสรีรวิทยา โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ นรีแพทย์ ร่วมมือกันคิดค้นวิธีการผสมเทียมนำอสุจิกับไข่ของมนุษย์มา
ผสมเทียมในหลอดแก้วเพื่อให้ปฏิสนธิมนุษย์นอกครรภ์มารดา การทดลองล้มเหลว 80 ครั้ง ในที่สุดปี 2521 วิธีผสมเทียม
ของทั้ง 2 คนก็ให้กำเนิดเด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก หลังจากหนูน้อยหลุยส์ บราวน์ ร้องอุแว้ในห้องคลอดเมืองโอลด์แฮม อังกฤษ

10. ยานวอยเอเจอร์ นาซ่า พ.ศ. 2520
เป็นเวลากว่า 30 ปี ยานอวกาศ วอยเอเจอร์ 1-2 ขององค์การอวกาศสหรัฐอเมริกา (นาซ่า) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากปลายสุด
ของระบบสุริยะจักรวาลส่งตรงกลับมายังฐานนาซ่าบนโลกเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลของดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ยูเรนัส และเนปจูน

11. WWW ทิม เบอร์เนอร์ส ลี พ.ศ.2534
โครงข่ายสารสนเทศอินเตอร์เน็ต ซึ่งเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเริ่มเป็นรูปเป็นร่างตั้งแต่ 30 ปีก่อน แต่บุคคลที่ทำให้
อินเตอร์เน็ตกลายเป็นยาสามัญประจำบ้านสำหรับประชากรโลก คือ ทิม เบอร์เนอร์ส ลี โปรแกรมเมอร์อังกฤษ ผู้คิดโปรแกรม
สืบค้นทางอินเตอร์เน็ตแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (World Wide Web : WWW) ขึ้นมาจนสามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เชื่อม
คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันปี 2534

12. นาโนเทคโนโลยี เอริก เดร็กซ์เลอร์ พ.ศ.2529
เอริก เดร็กซ์เลอร์ นักวิทยาศาสตร์อเมริกันบัญญัติคำว่า นาโนเทคโนโลยี ครั้งแรกปี 2529 เพื่ออธิบายวิสัยทัศน์ของ
ศ.ริชาร์ด ฟายน์แมน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ซึ่งวาดภาพการใช้วิธีจัดเรียง อะตอม ของสิ่งต่างๆ เพื่อนำมาสร้าง
สิ่งประดิษฐ์ขนาดจิ๋ว ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องยนต์ ฯลฯ
ปัจจุบันนาโนเทคฯ ค่อยๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมนุษย์แล้วในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ

13. พลังงานนิวเคลียร์ อังกฤษ พ.ศ.2499
นับแต่มีการค้นพบปฏิกิริยา นิวเคลียร์ฟิชชั่น ในยุคคริสต์ศตวรรษ 1930 นักวิทยาศาสตร์ตระหนักถึงความเป็นไปได้ในการผลิต
ประเทศอังกฤษ แต่เหตุการณ์โรงงานนิวเคลียร์ เชอร์โนบิล ของโซเวียตระเบิด ทำให้โลกถกเถียงกันอย่างหนักถึงผลดี-ผลเสีย
ของการใช้พลังงานชนิดนี้

14. เลเซอร์ ธีโอดอร์ ไมแมน พ.ศ.2503
เลเซอร์ ถือกำเนิดมาจากทฤษฎีทางฟิสิกส์ของ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ อธิบายหลักการปล่อยโฟตอนโดยการกระตุ้นอะตอม เพราะ
ในการเกิดการปล่อยโฟตอนดังกล่าวจะทำให้เกิดความเข้มแสงเพิ่ม ซึ่งเป็นหลักการของเลเซอร์โดยทั่วไป เทคโนโลยีเลเซอร์
หลุดจากโลกนิยายกลายเป็นความจริง เมื่อ ธีโอดอร์ ไมแมน นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการวิจัยของบริษัทฮิวส์ สหรัฐ
ลงมือสร้างเลเซอร์เครื่องแรกของโลกสำเร็จ มีความยาวคลื่น 694.3 nm ทุกวันนี้เลเซอร์นำไปใช้กับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
การทหาร การแพทย์ หรือแม้แต่ความบันเทิง เช่น อ่านแผ่นซีดีเพลง

15. หัวใจเทียม โรเบิร์ต ยาร์วิก พ.ศ.2525
มนุษย์เกิดมาต้องตายและต้องตายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงถ้า หัวใจ หยุดเต้น แต่นักประดิษฐ์เครื่องมือผ่าตัด โรเบิร์ต ยาร์วิก
ไม่ยอมรับกฎธรรมชาติข้อนี้ และสร้าง หัวใจเทียม ให้คณะแพทย์มหาวิทยาลัยยูทาธ์ สหรัฐอเมริกา นำไปผ่าตัดให้กับนายบาร์นีย์ คลาร์ก
ซึ่งมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก 112 ชม.หรือวัน? หลังผ่านการผ่าตัด
ทุกวันนี้หัวใจเทียมช่วยยืดชีวิตคนไข้ที่รอการเปลี่ยนหัวใจจำนวนนับไม่ถ้วน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา