ดอกเกลือ...คุณภาพสูง (ดูทีวีเลยสงสัยว่ามันเป็นยังไง)
http://gotoknow.org/blog/k-creation/168447
Fleur de Sel กับ "ดอกเกลือ" ของไทย
ใน ความเป็นจริงแล้ว ชาวนาเกลือในประเทศไทยก็ได้ผลิตดอกเกลือมานานนับร้อยปีมาแล้ว โดยเฉพาะที่ บ้านบางตะปูน ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ครั้งที่แล้วเล่าเรื่อง Fleur de Sel เพราะได้รับของฝากจากแขกชาวฝรั่งเศสที่มาทานข้าวที่บ้าน
เล่าถึงความพิเศษกันไปแล้ว ท่านผู้อ่านคงสงสัยว่า ราคาแห่งความพิเศษนั้นจะสักเท่าไร
เฉลยให้ทราบราคาของ Fleur de Sel ของฝรั่งเศสกันเลยค่ะ
ราคานั้นหรือ . ..At 100 times the cost of table salt and ten times the cost of ordinary sea salt....ในต่างประเทศ ราคาแพงเป็นหนึ่งร้อยเท่าของเกลือป่นผ่านกรรมวิธีที่ใช้บนโต๊ะอาหาร และ แพงเป็นสิบเท่าของเกลือทะเลธรรมดาๆ
สมราคามั้ยคะ จากการที่ดอกเกลือ Fleur de Sel เป็นเกลือที่สะอาด มีคุณภาพสูง ราคาแพง เพราะว่ามีปริมาณน้อย ไม่ได้สัมผัสกับพื้นดิน แน่นอนว่าเราคงไม่อยากนำเกลือที่แพงพิสดารเช่นนี้มาต้มยำทำแกง
กระป๋องเล็กๆที่ได้มา น้ำหนัก ๑๒๕ กรัม ทราบว่าราคา ๙ ยูโร หรือประมาณ ๔๕๐ บาท
ดอกเกลือ...ของไทย
ในความเป็นจริง แล้ว ชาวนาเกลือในประเทศไทยก็ได้ผลิตดอกเกลือมานานนับร้อยปีมาแล้ว โดยเฉพาะที่ บ้านบางตะปูน ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
พอฟ้าเริ่มสาง อาทิตย์ทอแสงสีทองอ่อน ๆ น้ำทะเลในผืนนาเกลือจะถูกแดดและลมพัดให้แห้งจนได้ความเค็มประมาณ 20-25 ดีกรี เกิดเกสรเกลือ หรือ เกลือแรกเริ่มตกผลึก ชาวนาเกลือเรียกว่า ดอกเกลือ ซึ่งจะเป็นผงเล็กๆ ลอยจับตัวกันเป็นแพอยู่เหนือน้ำผืนนาเกลือ ดังนั้นชาวนาเกลือจะต้องตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อรีบช้อนดอกเกลือ ก่อนที่แสงแดด และสายลมจะทำให้ดอกเกลือจมลงด้านล่าง
กล่าวกันว่า ดอกเกลือที่ เก็บได้ในเวลาเช้าตรู่นี้จะมีไอโอดีนสูง มีสีสันขาวเป็นประกายแวววาว รสชาติเค็มอมหวาน เป็นดอกเกลือที่สะอาด เพิ่งเกิดใหม่ๆ ไม่ได้สัมผัสกับพื้นดิน หรือตากลม ตากฝุ่นอยู่นาน มีแร่ธาตุต่างๆสูงมาก จึงมีคุณภาพสูง อีกทั้งเพราะมีปริมาณน้อย ราคาจึงแพง (เสียดายไม่สามารถหาข้อมูลวิชาการอ้างอิงได้ เรื่องแร่ธาตุในดอกเกลือของเรา)
โดยปกติแล้วเกลือนั้นหากขายปลีกกันจะตกอยู่ที่ กิโลกรัมละ 4-5 บาท แต่หากเป็นดอกเกลือนี้จะราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 10 - 15 บาททีเดียว
ดอกเกลือ จึงเปรียบเสมือนอัญมณีที่ล้ำค่าของชาวนาเกลือ ซึ่งเป็นที่หวงแหนมาก เพราะมีน้อย ชาวนาเกลือจึงเก็บดอกเกลือไว้ใช้เองทั้งบริโภค และประทินผิวพรรณเปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านของชาวนาเกลือ เก็บไว้ล้างแผลบ้าง เก็บไว้แจกจ่ายผู้มาเยือนบ้าง
ผู้เขียนเคยได้ดอกเกลือมาจากสมุทรสงครามถุงหนึ่งราวๆหนึ่งกิโลกรัม ก็ใช้ทำกับข้าวแทนการใช้น้ำปลา คือเอามาต้มยำทำแกง ไม่ได้ประดิดประดอยใช้อย่างที่ฝรั่งใช้ Fleur de Sel
คิดเล่นๆว่าฝรั่ง(เศส)ผลิต Fleur de Sel ได้ปีละครั้งเท่านั้น เมืองไทยมีโอกาสผลิตได้ยาวนานกว่าเพราะมีแสงแดดเกือบทั้งปี หากเรารักษาสิ่งแวดล้อมได้ดี ทะเลสะอาด น้ำทะเลที่จะใช้มาผลิตเกลือสะอาด กรรมวิธีผลิตแบบดั้งเดิมโดยภูมิปัญญาไทยของเรา การวิจัยคุณค่าของแร่ธาตุสารอาหารดอกเกลือของเราเปรียบเทียบกับของต่าง ประเทศให้ได้รู้กันแจ้งๆไปเลย และ การวิจัยพัฒนาเพื่อนำดอกเกลือมาผลิตเครื่องสำอาง อาจจะช่วยส่งเสริมให้อาชีพการทำนาเกลือยังคงอยู่ และสร้างรายได้จากการทำนาเกลือเพิ่มขึ้น
ปัญหาของคนไทยคือ เรามักไม่ค่อยเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาของเราเอง หากต้องการจะยกย่องก็ทำเป็นครั้งๆ(มักทำเพื่อให้ผู้พูดดูดี) เป็นแนวโรแมนติค รำลึกโหยหาความโบราณ มากกว่าจะกล่าวยกย่องอย่างมีข้อมูลน่าเชื่อถือ ประกอบเข้ากับเรื่องราวที่มาของภูมิปัญญาของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ทะเลไทยอยู่ในเขตร้อน ผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีแร่ธาตุสารอาหารมากกว่าทะเลเขตหนาวอย่างยุโรปด้วยซ้ำ ผู้เขียนมีเพื่อนคนหนึ่งทำร้านอาหารไทยชื่อดัง และเขียนตำราอาหารไทยและเอเชีย อยู่ที่ซานฟรานซิสโก เธอมาเมืองไทยครั้งใด ขากลับทุกครั้งต้องซื้อ "เกลือไทย" กลับไปอเมริกาทุกครั้ง ผู้เขียนเคยถามว่าอเมริกาก็มีเกลือขายมากมาย เกลือไทยถูกกว่าหรือจึงต้องหอบไปให้หนัก เธอตอบว่า ไม่ใช่ถูกกว่า แต่นำไปปรุงอาหารแล้วได้รสชาติดีกว่าเกลือฝรั่ง
ผู้เขียนขอตัวไปทดสอบรสชาติ Fleur de Sel ที่ได้มาซักหน่อย ดูซิว่าอาหารจะอร่อยขึ้นแค่ไหน เสียดายที่ดอกเกลือที่บ้านใช้หมดแล้ว คงต้องทดลองเปรียบเทียบรสชาติกันทีหลัง
ระหว่างค้นข้อมูลจากกูเกิ้ล พบภาพสวยๆและเรื่องเกี่ยวกับนาเกลือมากมาย ลิงค์ที่ยกมาภาพเขาสวย คมชัดมากเลยค่ะ ขอชวนไปชมกันนะคะhttp://www.barekadindern.com/bkdd2/viewtopic.php?f=1&t=40นหยุดที่แล้วผมก็หาเรื่องไปเที่ยววันหยุดตามประสาอีก ในทริปนี้ผมไม่อยากจะไปไกลจากกรุงเทพมากเท่าไหร่ (เพราะงบน้อย) ระหว่างทางที่ไปนั้นผมมองเห็นนาเกลือตลอดสองฝั่ง ก็เลยเกิดความอยากรู้อยากเห็นขึ้นมาว่าเค้าทำอะไรกันยังไง โชคดีที่ "เมืองแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม" นี้ มีรุ่นน้องผมอยู่คนหนึ่ง เราเลยได้เดินทางกันสะดวกมากยิ่งขึ้น ผมของให้รุ่นน้องผมแวะทีนาเกลือซักที่นึงเพื่อจะเก็บภาพและบรรยากาศของ "นา" ในอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือจากนาข้่าวที่เราเห็นกันอยู่ประจำทางทีวี
รุ่นพี่ผมที่ไปด้วยไม่พูดอะไรมาก มาถึงก็คว้ากล้องลงไปถ่ายรูปอย่างเดียวเลย
นาเกลือที่พึ่งจะเก็บเกี่ยวเกลือรวมเป็นกองๆในวันนี้หลัง จากขออนุญาติเจ้าของนาเกลือแห่งนี้แล้วผมก็เริ่มตะลุยเดินท่องในท้องนา ที่นาแห่งนี้มีอยู่หลายแปลง ที่เกลือ
กลายเป็นเกล็ดแล้วก็จะถูกกองรวมกันไว้ อีกส่วนที่ยังไม่เก็บก็เริ่มเป็นเกลืออยู่ด้านล่างของผิวน้ำ ส่องประกายระยิบระยับ
กับแสงอาทิตย์ สวยงามน่าดูชม เสียดายที่กล้องผมสู้แสงไม่ได้มาก พอจะเอาระยิบระยับมา ภาพก็มืดทุกที - -"
นาอีกส่วนที่เกลือยังไม่ตกผลึก
เกลือที่เริ่ิ่มตกผลึกอยู่ใต้ผิวน้ำเป็นชั้นๆ
เกลือที่ตกผลึกและสามารถขายได้แล้วก็จะถูกนำมาแผ่ก่อนจะกองไว้รวมกันเพื่อตากแดดให้แห้ง
ก๊วนท่องเที่ยวในทริปนี้ครับผม เดินมาจนถึงกลางท้องนา ก็เจอกับประตูน้ำเล็กที่เอาไว้ปิดเปิดระบายน้ำเข้าออก ที่นี่ท้องนาถูกขุดเอาไว้ลดหลั่นกัน
เป็นชั้นๆ เพื่อที่จะสะดวกในการถ่ายน้ำเข้าออก ท้องนาที่ผมเห็นว่าเรียบเสมอกันหมดนั้นจริงๆไม่ใช่เลย ระหว่างที่กำลัง
ถ่ายรูปประตูน้ำนี้ พี่คนงานคนหนึ่งก็เดินเข้ามาเพื่อวัดปริมาณความเข้มของเกลือเลยทำให้ผมได้ เรียนรู้ถึงความยาก
ลำบากในการทำเกลือ กว่าจะมาเป็นเกลือให้เราได้ใช้ปรุงอาหารกันครับ
ประตูระบายน้ำทะเลเข้าออก
พี่คนงานกำลังทำการวัดระดับความอิ่มตัวของเกลือครับผม ได้พูดคุยกับพี่เค้าหลายอย่างเกี่ยวกับการทำเกลือ ทำให้ได้ทราบว่า เกลือนั้นหลังจากที่นำน้ำทะเลมาสู่นาแล้ว ทุกๆวัน
ต้องคอยวัดระดับความเข้มของเกลืออยู่เสมอ เพราะว่าหากความเข้มมีสูงหรือต่ำไป เกลือที่ได้ออกมาจะมีปริมาณน้อย
หรือไม่ได้คุณภาพ หากมีความเข้มมากไป เกลือก็จะตกผลึกน้อย ต้องคอยเติมน้ำทะเลเข้าไปเลี้ยงอยู่เสมอ ถ้าวันไหน
ฝนตกขึ้นมา ก็เป็ฯอันว่า เกลือทั้งแปลงนั้นก็ต้องสูญไปโดยปริยาย เพราะน้ำฝนจะทำให้น้ำทะเลที่อยู่ในแปลงจืดจะไม่
ตกผลึกเป็นเกลือ ต้องถ่ายทิ้งไป กระบวนการตั้งแต่เริ่มจนถึงเกลือตกผลึกนี้กินเวลาประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ กว่าที่
เกลือจะเก็บเกี่ยวเอาไปขายได้ครับ
พี่คนงานกำลังถ่ายน้ำทะเลลงไปเลี้ยงนาเกลือแปลงที่มีความเข้มสูงเกินไปครับ
นาเกลือที่ยังไม่ตกผลึกมา ที่นี่ผมเลยได้ความรู้เพิ่มเติมอีกหนึ่งอย่างคือเรื่องของ "เกสรเกลือ" ที่ได้ยินคนพูดกันมานานแล้ว พี่เค้าก็ได้ให้ความรู้
กับผมว่า เกสรเกลือ เป็นเกลือแรกที่เริ่มตกผลึก แต่จะไม่ตกผลึกด้านล่างเหมือนเกลือทั่วๆไป เพราะจะตกผลึกที่ผิวหน้า
ของน้ำเกลือที่อยู่ในนา เกสรเกลือ หรือ "ดอกเกลือ" นี้มีแร่ธาตุสูงมาก บริษัทเครื่องสำอางทั้งหลายจะนำดอกเกลือนี้
ไปผลิตเป็นส่วนผสมทำให้มีราคาสูง กว่าเกลือธรรมดาทั่วไป โดยปกติแล้วเกลือนั้นหากขายปลีกกันจะตกอยู่ที่ กก.
ละ 4-5 บาท แต่หากเป็นดอกเกลือนี้จะราคาสูงถึง 10 - 15 บาท ต่อ กก. ทีเดียวครับ
เกสรเกลือหรือดอกเกลือถูกช้อนเก็บไว้แยกต่างหาก
ลักษณะของเกสรเกลือชัดๆครับ
เกสรเกลือที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ
หลัง จากขอบคุณพี่คนงานที่มาหใ้ความรู้กับผมแล้ว ผมก็เดินเลยต่อไปอีก ก็เจอกับพุ่มไม้ที่ขึ้นอยู่กลางนา ตอนแรกผมก็คิดว่า เออ สวยดีเฉยๆ แต่คิดไปคิดมา เฮ่ย นี่มันน้ำทะเลนา มันขึ้นได้ไงฟระ
เนี่ยครับ ขึ้นกลางน้ำเค็มได้ด้วย สีม่วงๆ สวยดีเหมือนกัน
ท้องร่องนาครับ นาแบบอื่นท้องร่องเป็นโคลน นาที่นี่ ท้องร่องเป็นเกลือครับผม ชอบภูมิปัญญาของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง คือ กลังหันลมสำหรับวิดน้ำขึ้นสู่นาที่สูงกว่า อาศัยกำลังของธรรมชาติ ที่หาดู
ได้ยากพอตัวในสมัยนี้ ที่กลายมาเป็นเครื่องสูบน้ำกำลังน้ำมันซะหมดแล้ว หลังจากดื่มด่ำกับบรรยากาศอันร้อนเปรี้ยง ผมก็
เหลือบไปเห็นคนงานกำลังจะเริ่มขนเกลือไปขายให้พ่อค้าที่มารอรับซื้อครับ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน กังหันวิดน้ำกลางนาเกลือครับ
อีกมุมหนึ่งของกังหันวิดน้ำครับ
น้ำกำลังถูกวิดขึ้นสู่ที่สูงกว่า
อีกซักรูปกับภูมิปัญญาคนไทยครับ
เหล่า คนงานก็เริ่มมาหามเกลือกันเพื่อไปรวมไว้ที่หน้านาครับ ผมเห็นภาพเหล่านี้แล้วนึกถึงอาหารหลายๆอย่างที่เรากิน
อะไรๆมันจะมีขั้นตอนและเวลา รวมทั้งต้องทุ่มเทแบบนี้อีกหลายอย่าง กว่าจะมาเป็นกับข้าวหนึ่งจาน ขนาดเกลือยังต้อง
ใช้เวลาขนาดนี้ ทั้งข้าวที่เรากินอยู่กว่าจะโตก็ใช้เวลาร่วมปี เบื้องหลังของอาหาร 1 จานที่เรากินกัน มีคนเหล่านี้แหละ
ที่เป็นเบื้องหลังนอกเหนือจากพ่อครัว
คนงานเิ่ริ่่มทยอยลงแปลงนา
หนักน่าดูเลยนะครับนี่
หนักก็หนัก แดดก็ร้อนครับ
แบกเสร็จก็กลับมาขนต่ออีก
เด็กๆก็มีครับ ไม่น่าเชื่อว่าตัวแค่นี้แบกเกลือหนักๆเท่าผู้ใหญ่เลยหลัง จากนั้นพวกผมก็ทยอยเดินทางออกจากนาเกลือเพื่อไปสู่ที่หมายต่อไปครับ แต่ภาพที่อยู่เบื้องหลัง เหล่าคนงานที่
แบกเกลือแต่ละเม็ดอย่างรู้ค่า ทั้งที่หนักแสนหนัก เรากินอาหารจานหนึ่งบางทีเหลือทิ้งซะด้วยซ้ำ มาที่นาเกลือครั้งนี้
ผมได้ความหมายอะไรดีๆหลายๆอย่างเก็บไว้ในความทรงจำครับ
ชาวนาเกลือ...อีกหนึ่งชาวนาที่หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน..ขอขอบพระคุณพี่ๆเจ้าของนาเกลือ รวมถึงคนงานทุกท่านที่ให้เราเข้าไปถ่ายทำครับ
ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้แยะเลย
ตอบลบThank's
ตอบลบ