วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ร่าง พรบ ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันระหว่างหญิงและชาย‏

(ร่าง)

พระราชบัญญัติ

ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันระหว่างหญิงและชาย

พุทธศักราช.......

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติว่าด้วยการอยู่ร่วมกันระหว่างหญิงและชาย"

มาตรา ๒ กฎข้อบังคับใดๆ ในพระราชบัญญัตินี้ ท่านว่าให้มีผลย้อนหลังและเดินหน้าบังคับได้ถึงทุกกรณี ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ไม่ว่า จะในหรือนอกราชอาณาจักร ไม่ว่า ชาตินี้ หรือชาติหน้า

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

"ท่าน" หมายถึง ผู้หญิง หรือ หญิง

"ท่านว่า" ก็หมายถึง ผู้หญิงเป็นคนว่า

"หญิง" หมายถึง ผู้ที่พึงได้รับความเคารพสักการะจาก ผู้ชาย อย่างถึงที่สุด ชายใดจะ ละเมิดมิได้

"ชาย" หมายถึง ผู้ที่ต้องเคารพสักการะคนข้างบน

"สัญญา" หมายถึง ข้อตกลงที่ชายและหญิงตกลงกัน ซึ่งหญิงสามารถเปลี่ยนแปลงข้อตกลงใดๆ ก็ได้ โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า อย่างเดียวกับบัตรเครดิต

"สัญญิง" หมายถึง คำที่เอาไว้นำหน้าคำว่า สัญญา เพื่อให้ฟังดูได้อารมณ์ เช่น "สัญญิงสัญญา"

"การคบหา" หมายถึง การที่ หญิง "คบ" แล้วให้ ชาย คอยตาม "หา"

"การแต่งงาน" หมายถึง การหาเรื่องใส่ตัวซะแล้ว

"การหมั้น" หมายถึง การเตรียมหาเรื่องใส่ตัว น่ะสิ

"สินสอด" หมายถึง ค่าโง่

"ชู้" หมายถึง ตำแหน่งผู้ช่วยสามี

"เหตุผล" หมายถึง สิ่งที่ ชาย ต้องเข้าใจ ไม่ว่าจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม และ หญิง อาจจะไม่เข้าใจก็ได้ ถึงแม้จะเข้าใจก็ตาม

"นอกใจ" หมายถึง ความตายของชาย ความอับอายของหญิง

"การฟ้องร้อง" หมายถึง อยาก "ร้อง" ก็ลอง "ฟ้อง" สิคะ

มาตรา ๔ ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ชายเป็นฝ่ายผิด หญิงเป็นฝ่ายถูกเสมอ

มาตรา ๕ ในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อสงสัย ให้ย้อนกลับไปดู มาตรา ๔

มาตรา ๖ ถ้าการคบหาก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายใดๆก็ตาม ท่านว่าต้องให้ ชาย เป็นฝ่ายจ่าย การจะใช้ ระบบ อเมริกันแชร์ นั้น ท่าน (ก็) ว่า (อีกนั่นแหละ) เป็นเรื่องที่หยาบคายมาก หาควรปฏิบัติไม่

มาตรา ๗ ในการตัดสินใจเรื่องใดเกี่ยวกับการคบหาก็ดี ให้ถือเสียงข้างมากเป็นหลัก แต่ให้สิทธิหญิง มีเทียบเท่าสองเสียง

มาตรา ๘ การผิดนัด การสาย การผิดเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือสัญญาใดๆ ก็ตาม อันเกิดจาก ชายเป็นผู้กระทำ ท่านว่า หญิง อาจเรียกเบี้ยปรับได้ โดยให้ หญิง เป็นผู้กำหนดเบี้ยปรับนั้น

การเรียกเบี้ยปรับตามวรรคแรกนั้น หาได้ทำให้ผลของเงื่อนไขหรือสัญญาใดๆที่ ชายยังติดค้างหญิง สิ้นสุดลงไม่ และต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขและหรือสัญญานั้นทุกประการ หากการผิดนัด การสาย การผิดเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือสัญญา ตามวรรคแรกนั้น ชายจะ ยกเหตุผลมาอ้าง หญิง มีสิทธิรับฟังได้ ส่วนจะเชื่อหรือไม่นั้น สุดแท้แต่ หญิง เป็นผู้ตัดสินใจ

อนึ่ง เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม หญิง มีสิทธิไม่เรียกเบี้ยปรับได้ และ ชาย ยังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและหรือสัญญาเดิมนั้นทุกประการ

มาตรา ๙ โทษที่ หญิง อาจลงต่อ ชาย ได้ หากไม่ปฏิบัติตามสัญญา มี ๕ ประการ คือ

( ๑ ) งอน

( ๒ ) ไม่พูดด้วย

( ๓ ) ไม่รับฟังคำแก้ตัว

( ๔ ) ไม่รู้ไม่ชี้

( ๕ ) ไม่ให้เข้าบ้าน

อนึ่ง หาก หญิง เห็นสมควร ให้ หญิง เลี้ยงเป็ดได้

มาตรา ๑๐ โทษที่ ชาย อาจลงต่อ หญิง ได้ หากไม่ปฏิบัติตามสัญญา

( โดนยกเลิกโดย รัฐธรรมนูญหญิง ฉบับ หญิงปี 2000 )

มาตรา ๑๑ ทำไม มาตรา ๑๐ โดนยกเลิก

มาตรา ๑๒ ดูเหตุผลใน มาตรา ๓ มาตรา ๔ และ มาตรา ๕ ให้ดีๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา