วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ฟังพระเล่ามา....ขำ ขำ‏

เรื่อง: พระเล่ามา .... อ่านไปยิ้มไป อ้าปากไป ไม่ผิดหวังถ้าเข้ามาอ่าน

ถ้าตอนใส่บาตรแล้วที่ยืนสกปรกมาก จะต้องถอดรองเท้าใส่บาตรด้วยหรือไม่ ?
“ พระไม่ฉันรองเท้านะโยม”...ไม่ต้องเอารองเท ้าใส่มานะ.....


พระนอนไม่หลับ เลยไปหาหมอใหม่จบมาจากเมืองนอก
หมอ: เป็นอะไรครับ
พระ : จำวัดไม่ได้จ๊ะโยมหมอ

หมอ: (ทำหน้างง) แล้วจะกลับวัดยังไง
พระ: (ทำหน้างงด้วย) มามอไซรับจ้างก็ต้องกลับมอไซนะโยม

หมอ: (ทำหน้าง๊งงง) แล้วมอไซรับจ้างจำวัดได้เหรอ
พระ: (ทำหน้าง๊งงงด้วย) มอไซรับจ้างจำวัดไม่ได้หรอกโยม มีแต่พระที่จำวัดได้

หมอ: (ทำหน้างงง๊งงง) อ้าวไหนบอกว่าจำวัดไม่ได้ไง
พระ : !\=-+#@%^&*(+๐"ฯ,?

จำวัดเป็นภาษาพระแปลว่านอน.........................
หมอ: อ๋ออออออออออออออออออออออออออ

ญาติโยมหลายท่านมักถามว่า"ท่านบวชเรียนมาตั้งแต่อายุยังน้อย อยู่ในเพศบรรพชิตมามากกว่าครึ่งชีวิต มีโอกาสสัมผัสชีวิตฆราวาสไม่มากนัก แล้วเอาข้อมูลวัตถุดิบหรือมุกมาจากไหนหนักหนา"

อาตมาก็ตอบว่าหลักๆเลยก็คือ การอ่าน นอกจากนั้นก็หนัง ละครที่ญาติโยมดูกันนั่นแหละ พอตอบออกไปอย่างนี้ โยมก็สวนกลับทันที "ไม่ผิดข้อห้ามหรือท่าน"

อาตมาก็จะอธิบา ยไปว่าดูเพื่อให้เท่าทันกิเลสจะได้สกัดมันถูก และที่สำคัญหากอาตมาไม่รู้หรือไม่เข้าใจ ตลอดจนไม่เท่าทันเรื่องราวทางโลก และจะมาบรรยายธรรมให้ญาติโยมรู้สึกอินกันได้อย่างไร ซึ่งนอกจากการอ่าน การดูและการฟังแล้ว หลายวัตถุดิบที่นำมาสร้างเป็นมุกฮาก็ได้มาจากการพูดคุยกับเหล่าโยมๆนี่แหละ

อย่างวันหนึ่งระหว่างที่อาตมากำลังฉันเพลอยู่ก็มีโยมท่านหนึ่งโทร.มา
"พระอาจารย์เหรอคะ นี่อาตมาเองนะคะ"
"หา อะไรนะ"
"พระอาจารย์เหรอคะ นี่อาตมาเองค่ะ"
"ถ้าโยมแทนตัวว่าอาตมา แล้วอาตมาจะแทนตัวอาตมาว่าอะไร"
"อ๋อ ขอโทษค่ะ"
หลังจากนั้นก็คุยธุระกันจนจบ อาตมาก็กล่าวว่า "เจริญพร"
"ค่ะ เจริญพรเช่นกัน"
แน่ะ มีอวยพรให้พระด้วย

ข้างต้นก็คือ สิ่งที่ มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆระหว่างพูดคุยกับเหล่าญาติโยม จนถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับอาตมาไปแล้ว หรืออย่างก่อนหน้านี้มีโยมผู้หญิงคนหนึ่ง เดินถือสังฆทานมาอย่างมาดมั่น พอเข้ามาในกุฏิแล้ว เธอก็มุ่งตรงไปที่พระบวชใหม่รูปหนึ่งทันที
"ถวายสังฆทานค่ะ"

พระบวชใหม่ด้วยความที่ยังจำบทสวดต่างๆ ไม่ค่อยคล่องนัก จึงหยิบหนังสือขึ้นมาดู
"ไม่ต้องค่ะ" โยมผู้หญิงคนนั้นกล่าวอย่างหนักแน่นตามสไตล์สาวม ั่น
"ดิฉันท่องได้ค่ะ เพราะคุณยายพาเข้าวัดตั้งแต่เด็กๆ"เธอพนมมือขึ้น ก่อนกล่าวว่า
"อิมานิ มะยัง ภันเต สะปะริวารานิ คิกขุ สังโฆ" (ที่ถูกต้องจะต้องเป็น ภิกขุ สังโฆ)
พระบวชใหม่มีสีหน้างุนงง ก่อนหันมาถามอาตมา "คิกขุสังโฆ นี่มันฟังทะแม่งๆ
นะหลวงพี่"

อาตมาเกรงว่าโยมผู้นั้นจะหน้าแตก ก็เลยตอบไปว่า "คิกขุ แปลว่า น่ารัก
สังโฆ แปลว่า สงฆ์ คิกขุสังโฆ ก็คือ แด่พระสงฆ์ผู้น่ารัก"เท่านั้นแหละ
พระใหม่รูปนั้นนั่งยืดทั้งวันเลย
แต่ก็มีบางกรณีที่การพูดผิดของคุณโยมทำให้อาตมาแทบจะสำลัก อย่างเมื่อเร็วๆนี้ มีโยมท่านหนึ่งโทรศัพท์มา "หลวงพี่ขา ขอเรียนเชิญนิมนต์ค่ะ"
"ไปไหนล่ะโยม" "ไปมรณภาพที่บ้านน่ะค่ะ"
โห นิมนต์พระไปตายถึงที่บ้านเลย อาตมาจึงบอกไปว่า ถ้านิมนต์ไปงานศพไปให้ได้ แต่ถ้าเชิญไปมรณภาพนี่ ช่วงนี้อาตมาไม่ว่างจริงๆ ขอตัวเถอะนะโยม

จากตัวอย่างข้างต้น คุณโยมอาจจะเห็นเป็นเรื่องขบขัน แต่มันก็สะท้อนให้เห็นความห่างเหินระหว่างคนกับวัดได้ในระดับหนึ่ง ปัจจุบันนี้คนจะนึกถึงวัดในกรณีพิเศษ เท่านั้น เช่นงานบวช งานศพ

ต่างกับสมัยก่อนที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ฆราวาสกับพระจึงสนทนากันไหลลื่น
ไม่มีคำแปลกๆ หรือผิดที่ผิดทางออกมาให้พระสดุ้งแต่อย่างใด ซึ่งถ้าพูดถึงศัพท์
แสงที่แสลงใจแล้ว ตอนไปบิณฑบาตอาตมาจะเจอบ่อยมาก
เช่นมีอยู่ ครั้งหนึ่งระหว่างที่กำลังเดินๆอยู่ ก็ได้ยินเสียงใสๆ แว่วขึ้นมา
"แม่ๆ พระมาขอข้าว"
"มาเยอะไหมลูก"
"มา 2 อัน"
โห เรียกอย่างกับชิ้นส่วนรถยนต์ นี่ถ้ามาเยอะๆไม่เรียกเป็นฝูงเลยเหรอ

ดังนั้นเวลาไปบรรยายธรรมให้นักเรียนฟังอาตมาจะนำเรื่องนี้ไปสอดแทรกเพื่อสอนเด็กๆด้วย
"ถ้าพระกิน เรียก ฉัน"
" พระนอน เรียก จำวัด" (บางคนเรียกขี้เกียจเป็นพระนอนไม่ได้)
" พระป่วย เรียก อาพาธ"
" พระตาย เรียกมรณภาพ" (ไม่ใช่เรียกป่อเต็กตึ๊งนะ)
" แล้วพระอาบน้ำล่ะ เรียกอะไรเอ่ย" คราวนี้อาตมาถามให้เด็กๆ ตอบบ้าง
"เรียกคนมาดู"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา