วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

คำฟ้องคดีตัวอย่าง...ฟ้องโตโยต้า อิโนว่า ห้าล้าน :-

คำฟ้องคดีตัวอย่าง...ฟ้องโตโยต้า อิโนว่า ห้าล้าน :-

เรื่องจริง กรณีตัวอย่างซื้อรถในงานมอร์เตอร์โชว์

รู้ไว้ ได้ประโยชน์ อย่าตกเป็นเหยื่อของบริษัทฯข้ามชาติยักษ์ใหญ่



เก็บไว้อ่านเมื่อมีเวลานะ

คำฟ้องคดีตัวอย่าง เรียกค่าเสียหายจากโตโยต้า 5 ล้าน

ไอเสียเข้าในรถ"อินโนวา"อ้างกระทบสุขภาพร้ายแรง

@web51302.mail.re2. ya hoo.com

คราบเขม่าในห้องโดยสารเก



เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน นางสุภาภรณ์ ว่องวีรวัฒนกุล กับบุตร 3 คนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท โตโยต้า

มอเตอร์(ประเทศไทย)จำกัดและพวกต่อศาลแพ่งธนบุรีเรียกค่าเสียหาย เป็นเงินเกือบ 5 ล้านบาทจาก

กรณีโจทก์ซื้อรถยนต์โตโยต้า รุ่นอินโนว่า แต่ปรากฏว่า มีไอเสียจากเครื่องยนต์รั่วเข้ามาในห้องโดยสาร

ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของโจทก์อย่างร้ายแรง



ทั้งนี้คำบรรยายฟ้องของโจทก์สรุปว่า เมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 โจทก์ที่ไปเที่ยวงาน

มหกรรมรถยนต์ที่ศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี ได้รับการเสนอหรือชักชวนจากพนักงานขายของจำเลยที่

1 ให้ซื้อรถยนต์โตโยต้า รุ่นอินโนว่า ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล จึงได้ซื้อไว้และชำระเงินตามสัญญาเช่า

ซื้อครบถ้วนแล้ว และได้รับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าวมาเรียบร้อยแล้ว



ภายหลังจากโจทก์ได้รับรถยนต์คันดังกล่าวก็ได้ใช้งานตามปกติวิสัย รวมทั้งรับส่งบุตรทั้งสามไป-กลับ

โรงเรียนเช้า-เย็นตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ โดยโจทก์ทั้งสี่อยู่ในรถยนต์คันดังกล่าววันละประมาณ 5-6 ชั่วโมง

หลังจากไม่นาน โจทก์รู้สึกว่า มีกลิ่นคล้ายกลิ่นจากท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร จึงได้แจ้งกับ

พนักงานขายของจำเลยที่ 1 ซึ่งแจ้งว่าเป็นเรื่องปกติของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล โจทก์ไม่เคยใช้

รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นเรื่องปกติ หรือไม่



ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โจทก์ใช้รถยนต์คันดังกล่าวครบระยะ 50,000

กิโลเมตร จึงได้นำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าตรวจเช็คกับศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ของจำเลย โจทก์แจ้งกับ

พนักงานของจำเลยว่า มีกลิ่นควันคล้ายกลิ่นท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร พนักงานของจำเลยแจ้งว่า

เป็นเรื่องปกติของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและให้โจทก์ ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ

แต่กลิ่นดังกล่าวก็ยังไม่หายไป และเริ่มมีคราบเขม่าเข้ามาในห้องโดยสาร ดังนั้น เมื่อวันที่ 12

กันยายน พ.ศ. 2550 โจทก์จึงนำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าตรวจเช็คกับศูนย์ฯ ของจำเลยโดยจำเลยแจ้ง

ให้เจ้าหน้าที่เท็คนิคของบริษัทโตโยต้าฯ มาตรวจสอบโดยให้โจทก์ ทิ้งรถยนต์คันดังกล่าวไว้เป็นเวลา 5

วัน เมื่อครบกำหนดโจทก์มารับรถ พนักงานของจำเลยได้แก้ไขให้โดยเปลี่ยนช่องลมบังโคลน ซ้าย –

ขวา และแจ้งแก่โจทก์ที่ว่า สามารถนำรถไปใช้ได้อย่างสบายใจ



แต่กลิ่นและคราบเขม่าดังกล่าวก็ยังไม่หายไป ดังนั้น เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ 2550 โจทก์จึงนำรถ

ยนต์คันดังกล่าวเข้าตรวจเช็คกับศูนย์ฯ ของจำเลย อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังตรวจเช็คแล้ว ผู้จัดการศูนย์ฯ

ของจำเลยแจ้งโจทก์ว่า ไม่เป็นไร เป็นธรรมดาของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล



โจทก์เชื่อตามที่ผู้จัดการศูนย์ฯ ของจำเลย บอกว่า กลิ่นควันคล้ายท่อไอเสียดังกล่าวเป็นธรรมดาของรถ

ยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล จึงใช้รถยนต์คันดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551

โจทก์รู้สึกว่าแอร์ฯ ไม่เย็น ไม่มีลม จึงนำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าเช็คที่ศูนย์ของจำเลย ทางศูนย์ฯ ของ

จำเลยอ้างว่า ตู้แอร์ตันไม่สามารถล้างได้จึงได้ทำการเปลี่ยนตู้แอร์ให้ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ 2551



ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551 โจทก์นำรถยนต์ คันดังกล่าวเข้าเช็คระยะ 100,000 กิโลเมตร

ทางพนักงานของจำเลยแจ้งโจทก์ว่าไส้กรองเครื่องฟอกอากาศอุดตัน จำเลยจึงได้เปลี่ยนไส้กรองให้เมื่อ

วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551 แต่กลิ่นและคราบเขม่า ก็ยังไม่หายไป และโจทก์ได้แจ้งพนักงานจำเลยทราบ

พนักงานจำเลยจึงได้ทำการล้างแอร์โฟลว์ให้ แต่กลิ่นและคราบเขม่าก็ยังไม่หายไป



ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 เริ่มมีคราบ เขม่าสีดำเข้ามาในห้องโดยสารเป็นจำนวนมาก

โจทก์จึงเข้าตรวจสอบที่ศูนย์ฯของจำเลยพบว่า มีคราบเขม่าสีดำเข้ามาในห้องโดยสารจำนวนมากจริง

จึงได้ถ่ายรูปแล้วแล้วส่งเรื่องไปยังบริษัทโตโยต้า(จำเลยที่ 3) แต่ปกปิดสาเหตุไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึง

สาเหตุว่า เกิดขึ้นเพราะอะไร



ต่อมาวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ทางบริษัทโตโย ต้าฯ ได้นัดให้โจทก์มาเจรจาและขอให้โจทก์นั่งรถ

ยนต์คันดังกล่าวเพื่อไปตรวจสอบค่ามลพิษในห้องโดยสารแต่โจทก์ป่วย จึงไม่สะดวกที่จะนั่งรถไปด้วย จึง

ขอให้รองผู้จัดการศูนย์ของจำเลยนั่งไปด้วย แต่เจ้าหน้าที่เทคนิคจากบริษัทโตโยต้า ไม่ไปตรวจสอบกับ

รองผู้จัดการศูนย์ฯ ของจำเลย โดยโดยเจ้าหน้าที่เทคนิคของบริษัทโตโยต้า ยืนยันจะให้โจทก์ทิ้งรถยนต์

คันดังกล่าวไว้ 3-5 วัน โจทก์จึงไม่ตกลง



บริษัทโตโยต้า จึงได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 แจ้งมายังโจทก์มีใจความทำนอง

ว่า หากโจทก์ประสงค์จะให้บริษัทตรวจสอบรถยนต์คันดังกล่าวให้นัดหมายมา



ต่อมาวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 จึงได้มีการนัดตรวจรถยนต์คันดังกล่าว โดยฝ่ายจำเลยทั้งสามส่ง

เจ้าหน้าที่มา 4 คน ฝ่ายโจทก์มีตัวโจทก์ และเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 4 คน และอาจารย์จาก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเก้าธนบุรี 2 คน โดยทำการตรวจวัดประมาณ 1 ชั่วโมง โดยขับรถ

ยนต์รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยตรวจสอบรถยนต์ 2 คันเปรียบเทียบพร้อมๆ กันคือรถยนต์คันดัง

กล่าว กับ รถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า ผลปรากฏว่า พบค่าก๊าซคาบอนมอนอกไซค์ใน

ห้องโดยสารรถยนต์คันดังกล่าวสูงถึง 16 พีพีเอ็ม ส่วนรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้าตรวจไม่พบก๊าซดังกล่าว



โจทก์ จึงเพิ่งทราบว่า รถยนต์คันดังกล่าวมีก๊าซอันตรายและเขม่าจากไอท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดย

สารขณะขับขี่รถยนต์คันดังกล่าว และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ จึงหยุดใช้รถยนต์คันดัง

กล่าวตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552



ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์( Carbon monoxide : CO) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี รส และกลิ่น เบากว่า อากาศ

ทั่วไปเล็กน้อย เมื่อหายใจเข้าไป ก๊าซนี้จะรวมตัวกับฮีโมโกลบิน( Haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงได้

มากกว่าออกซิเจน 200-250 เท่า เกิดเป็นคาร์บ๊อกซีฮีโมโกลบิน( Carboxyhaemoglobin : CoHb)

ซึ่งลดความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยัง เนื้อเหยื่อต่างๆ โดยทั่วไป องค์

ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิด CoHb ในเลือดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของก๊าซ

คาร์บอนมอนอกไซด์ในอากาศ ที่สูดหายใจเข้าไปและระยะเวลาที่อยู่ในสภาวะนั้นสำหรับอาการตอบสนอง

ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ CoHb และความรู้สึกของแต่ละบุคคลที่ไวต่อก๊าซชนิดนี้



นอกจากนั้นควันดำเป็นผงเขม่าขนาดเล็กที่เหลือจากการเผาไหม้ของ เชื้อเพลิงจากรถยนต์ดีเซล เช่น

รถปิกอัพดีเซล รถเมล์โดยสาร และรถขนาดใหญ่ทั่วๆ ไป อันตรายจากควันดำ เนื่องจากควันดำเป็นผง

เขม่าขนาดเล็กที่สามารถเข้าไปสะสมที่ถุงลมในปอด และควันดำยังประกอบไปด้วยสารที่เป็นสาเหตุของ

การเกิดมะเร็งปอด นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสกปรก และบดบังการมองเห็นก่อให้เกิดอุบัติเหตุทาง

จราจรได้ง่าย



ด้วยเหตุที่รถยนต์คันดังกล่าวมีความชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้มี ก๊าซพิษและเขม่าเข้ามาในห้องโดยสารได้

ดังนั้น ตั้งแต่โจทก์ทั้งสี่ใช้รถยนต์คันดังกล่าวก็เกิดอาการผิดปกติของร่างกายคือ ในเรื่องระบบทางเดิน

หายใจ มีภาวะการหายใจลำบาก เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบบ่อยครั้ง มึนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

ใจสั่น มีอาการคล้ายจะเป็นลม แสบตา คันจมูก มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยหาสาเหตุไม่ได้

โดยเฉพาะโจทก์ที่ 1 ได้เคยไปพบแพทย์บ่อยครั้ง โดยไปพบแพทย์เฉพาะทาง โรคปอด จักษุแพทย์

แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ แพทย์เหล่านั้นก็รักษาไปตามอาการโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น คันตา แสบตา

แพทย์ก็ให้ยาแก้แพ้มาหยอดตา หัวใจเต้นผิดจังหวะก็ให้ยามารักษาอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ฯลฯ



การกระทำของจำเลยที่ประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบสินค้าให้ดีว่ามี คุณภาพไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้

ใด แต่กลับนำผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดบกพร่องมาจำหน่ายก่อให้ความเสียหายแก่โจทก์ทั้ง สี่ ส่วนจำเลยที่ 2

ทราบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวชำรุดบกพร่องเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ โจทก์ทั้งสี่ แต่กลับปิดบังความจริงอัน

ควรจะแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ทราบจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ในความเสียหาย ดังนี้

1. ค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยและทนทุกข์ทรมานจากการใช้รถยนต์คันดัง กล่าวเป็นเวลากว่า 5 ปี เศษ โดยที่

โจทก์ที่ 1 ปัจจุบันอายุ 46 ปี จบการศึกษาพยาบาลศาสตร์ เคยเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ต่อมาลาออกมาเพื่อสมรส และเป็นแม่บ้าน มีรายได้จากสามีเดือนละ 150,000 บาท



โจทก์ที่ 2 มีอายุ 21 ปี ปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย

โจทก์ที่ 3 ปัจจุบันอายุ 18 ปี ปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

โจทก์ที่ 4 ปัจจุบันอายุ 13 ปี ปัจจุบันอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



โจทก์ทั้งสี่ขอคิดค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยและทนทุกข์ทรมานจากการ ใช้รถยนต์คันดังกล่าววันละ 1,500

บาทต่อคน เป็นเวลากว่า 5 ปีเศษ แต่โจทก์ทั้งสี่ขอคิดเพียง 1 ปีก่อนฟ้อง คิดเป็นค่าเสียหายคนละ

547,500 บาท รวมค่าเสียในส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสี่เป็นเงิน 2,190,000 บาท



2. ค่าขาดประโยชน์ใช้สอยในรถยนต์คันดังกล่าว เนื่องจากการใช้รถยนต์คันดังกล่าวก่อให้เกิดอันตรายต่อ

สุขภาพโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ที่ 1 จึงหยุดใช้รถยนต์คันดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และขึ้นรถ

ยนต์แท็กซี่แทนเสียค่าใช้จ่ายวันละ 1,500 บาท คิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 253 วัน เป็นเงิน 379,500

บาท และเนื่องจากความชำรุดบกพร่องของรถยนต์คันดังกล่าวมีอยู่ในขณะส่งมอบสินค้า นั้นและไม่อาจแก้

ไขให้กลับคืนสภาพที่ใช้งานได้ปกติหรือถึงแม้แก้ไขแล้วหากนำไป บริโภคอาจเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือ

อนามัยของโจทก์ทั้งสี่ที่ใช้สินค้านั้น โจทก์ที่ ๑ จึงขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเปลี่ยนรถยนต์

รุ่นเดียวกันให้ใหม่ และให้ใช้ค่าขาดประโยชน์ใช้สอยวันละ ๑ , ๕๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะ

เปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ให้แก่โจทก์ที่ 1



และหากจำเลยทั้งสามไม่สามารถหารถยนต์รุ่นดังกล่าวมาเปลี่ยนให้ แก่โจทก์ที่ได้ ก็ให้รับรถยนต์คันดัง

กล่าวไปแล้วใช้ราคาแทน โดยโจทก์ที่ 1 ซื้อรถยนต์มาในราคา 1,169,000 บาทหักค่าเสื่อมราคาปี

ละ 7 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 5 ปี คงเหลือเงิน 759,850 บาท



3. ค่าขาดโอกาสที่จะมีอายุยืนยาวและจะได้รับความสนุกสนานในชีวิต เนื่องจากควันและเขม่ามีสาร

polycyclicaeromatic hydrocarbon อันเป็นสารก่อมะเร็งมายาวนานถึง 5 ปีเศษ มีโอกาสที่จะ

เป็นมะเร็งและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร โจทก์ทั้งสี่ขอคิดค่าเสียหายในส่วนนี้เท่ากับค่าเบี้ยประกันภัยสุข

ภาพโรคมะเร็ง คนละ 5,000 บาท ต่อปี เป็นเวลา 20 ปี คิดเป็นค่าเสียหายคนละ 100,000 บาท

รวมเป็นเงิน 400,000 บาท



4. ค่าเสียหายในความวิตกกังวล ทนทุกข์ทรมาน ว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ คนละ 500,000 บาท เป็น

เงิน 2,000,000 บาท



รวมเป็นเงินที่จะต้องชำระให้กับโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 1,527,000 บาท โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน

1,147,500 บาท โจทก์ที่ ๓ เป็นเงิน 1,147,500 บาท โจทก์ที่ 4 เป็นเงิน 1,147,500

บาท รวม 4,969,500 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา