วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

เผยวิธีกายภาพมือง่ายๆ ก่อน "นิ้วล็อค" ถาวร!

เผยวิธีกายภาพมือง่ายๆ ก่อน "นิ้วล็อค" ถาวร!


ปฏิเสธไม่ได้ว่า มือของคนเรา เป็นอวัยวะสำคัญที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะหยิบจับสิ่งของ หรือใช้งานในกิจอื่นๆ ทั้งเด็กที่จะต้องใช้มือเขียนหนังสือ พ่อแม่คนทำงานที่ต้องใช้มือกับแป้นพิมพ์ เขียนงานเอกสาร หรือใช้ในงานด้านต่างๆ ตลอดจนแม่บ้านที่ต้องใช้มือในการหิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ชอปปิ้ง บิดผ้า

เมื่อมือ เป็นอาวุธสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ใช้ทำงาน บางครั้งอาจถูกใช้งานอย่างหนัก โดยไม่ได้พัก หากเป็นเช่นนี้ ซ้ำๆ บ่อยๆ ย่อมมีความเสี่ยงต่อการเจ็บปวดตามมา สามารถนำพาไปสู่ภาวะนิ้วล็อค หรือ Trigger Finger ได้ในที่สุด
&n bsp;
ในวันนี้ ทีมงาน Life and Family มีเกร็ดความรู้จากงาน "Banana Family in Love" จัดโดย Banana Family Park ภายใต้โครงการ Workshop กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งได้มีการพูดคุยถึงภาวะนิ้วล็อค และวิธีการดูแลมือไว้อย่างน่าสนใจ จึงนำมาฝากให้กับทุกครอบครัวไว้ปรับใช้ก่อนนิ้วล็อคถาวรกัน

หากพูดถึง ภาวะนิ้วล็อค ทีมงานได้รับความรู้ว่า เป็นกลุ่มอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่มีการใช้มือทำงานอย่างหนัก ซึ่งจะมักมีอาการเจ็บร่วมกับมีเสียงดังกึก ทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้ว แต่เมื่อมีการอักเสบเส้นเอ็นจะบวมและหนาตัว ทำให้ลอดผ่านห่วงลำบาก จึงรู้สึกเจ็บและเกิดอาการนิ้วล็อคตามมา

โดยส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะแม่บ้านที่ใช้มือทำงานอย่างหนัก เช่น หิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ชอปปิ้ง บิดผ้า ส่วนในผู้ชายมักพบในอาชีพที่ใช้มือทำงานหนักๆ มีการจับ ออกแรงบีบอุปกรณ์ซ้ำๆ เช่น คนทำสวนใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ช่างที่ใช้ไขควงหรือเลื่อย พนักงานพิมพ์ดีด นักกอล์ฟ เป็นต้น

นอกจากนี้ลักษณะการใช้งานของมือในแต่ละกิจกรรมจะใช้งานแต่ละนิ้วไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดนิ้วล็อคที่ตำแหน่งนิ้วต่างกันด้วย เช่น พ่อแม่ที่เป็นครู หรือนักบริหาร มักเป็นนิ้วล็อคที่นิ้วโป้งขวา เพราะใช้เขียนหนังสือมาก และใช้นิ้วโป้งกดปากกานานๆ ขณะที่แม่บ้านซักบิดผ้า มักเป็นที่นิ้วชี้ซ้ายและขวา แต่ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกัน และรักษาให้หายได้ ถ้ารู้จักวิธีดูแลตนเองอย่างถูกต ้อง

สำหรับอาการ ในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัด หรือกำได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักก็จะกำมือได้ดีขึ้น เวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อค คือ เวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชา ติดแข็งจนใช้งานไม่ได้

*** กายภาพมือง่ายๆ ก่อน "นิ้วล็อค" ถาวร!




1. ยืดกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยทำ 6-10 ครั้ง/เซต

2. บริหารการกำ-แบมือ โดยฝึกกำ-แบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือ และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ หรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้ โดยทำ 6-10 ครั้ง/เซต

3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ-เหยียดนิ้วมือ โดยใช้ยางยืดช่วยต้าน แล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้านิ้วออก ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อยๆ ปล่อย ทำ 6-10 ครั้ง/เซต

*** ระวังตัวง่ายๆ ลดเสี่ยง "นิ้วล็อค"

1. ไม่หิ้วของหนักเกินไป ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทน เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ

2. ควร ใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งาน ขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ

3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง

4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น

5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือ เมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบา ๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา