วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขนมไหว้พระจันทร์

Subject: Fw: ขนมไหว้พระจันทร์




ความเป็นมาของขนมไหว้พระจันทร์
วันไหว้พระจันทร์
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เป็นวันไหว้พระจันทร์ของชาวจีน
ภาษาจีนเรียกวันไหว้พระจันทร์ว่า" จงชิว " ที่มาของคำว่าจงชิวนี้คือ เดือนแปดตามปฏิทิน
จันทรคติตกอยู่ช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง (เดือนเจ็ดและเดือนแปดอยู่ในฤดูใบไม้ร่วง หนึ่งฤดูแบ่งเป็น เมิ่ง
จ้ง จี้ ) ดังนั้นก็เลยเรียกว่า " จ้งชิว " ประกอบกับวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปดก็ตกอยู่ในช่วงกลางของ
เวลาที่เรียกว่าจ้ง ชิวนี้ จึงเรียกเทศกาลดังกล่าวว่า" จงชิว " ด้วย
ในคืนวันไหว้พระจันทร์ ดวงจันทร์สว่างและกลม ถือว่าสวยที่สุด ผู้คนถือว่าดวงจันทร์ที่กลม
เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสามัคคี ดังนั้นจึงเรียกเทศกาลนี้ว่า " เทศกาลแห่งความกลมเกลียว "
เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลดี เป็นเทศกาลที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนาน เรื่องดวง
จันทร์ของชาวจีนอย่างแนบแน่น เช่นเรื่อง " ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์ " ถือว่าเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงมาก

วันไหว้พระจันทร์ เป็นการไหว้ครั้งที่ 6 ของปี เรียกการไหว้ครั้งนี้ว่า "ตงชิวโจ่ย" การ
ไหว้พระจันทร์ของคนจีน เป็นที่รู้จักกันดีกว่าเทศกาลไหว้อื่นๆ เพราะมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เป็นการไหว้
เจ้าแม่กวนอิม และมีของไหว้ที่เป็นแบบเฉพาะ เช่นมีขนมไหว้พระจันทร์ มีต้นอ้อย โคมไฟ เทศกาลนี้เป็น
อุบายในการปลดแอกชาติจีน ออกจากการปกครองของพวกมองโกล
วันไหว้พระจันทร์ ถือเป็นวันสารท เพราะตรงกับวันกลางเดือน คือวันที่ 15 ถ้าเป็นตรุษจะ
เป็นวันที่ 1 ของเดือน ตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 ของจีน และถือเป็นวันกลางเดือนของเดือน กลางฤดู
ใบไม้ร่วง ด้วยว่าประเทศจีนนั้นแบ่งวันเวลา เป็น 4 ฤดูกาล ฤดูหนึ่งมี 3 ดวง คือ ชุง แห่ ชิว ตัง คือ
ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูฝน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ตามมลำดับ

ตำนานวันไหว้พระจันทร์
ขนมที่ทำมาเป็นพิเศษในเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ก็คือ ขนมเปี๊ยก้อนใหญ่พิเศษ ไส้หนา มีขนม
โก๋สีขาว ขนมโก๋สอดไส้ ขนมโก๋สีเหล์อง เมื่อไหว้เสร็จก็แบ่งกันรับประทานในครอบครัว
เรื่อง " ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์ " ปรากฎเป็นครั้งแรกในยุคต้นของสมัยจั้นกว๋อ ( สมัยสงครามระหว่าง
รัฐ ) เล่าเรื่องราวของฉังเอ๋อที่ได้กินยาอายุวัฒนะของเจ้าแม่ซีหวังหมู่ แล้วไปเป็นเทวีแห่งดวงจันทร์
เมื่อถึงสมัยราชวงศ์สุยและถัง เนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นมีความนิยมที่จะชื่นชมดวงจันทร์ว่าสวยและดูน่ารัก
ใคร่ ดังนั้นทัศนะที่มีต่อฉังเอ๋อผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ว่าเป็นผู้ที่อ่อน หวาน สวยงาม ฉลาด มีจิตใจดี
งาม มีความสามารถในการร้องรำ เป็นต้น มีตำนานอีกเรื่องที่เล่าถึงเทวีแห่งดวงจันทร์ว่า สมัยโบราณ
นานมาแล้ว โลกเรานี้มิได้มีดวงอาทิตย์เพียงแค่ดวงเดียวเท่านั้น แต่มีถึงสิบดวง นำมาซึ่งภัยพิบัติแต่โลก
มนุษย์ ทำให้โลกร้อนระบุเป็นเพลิง ส่วนที่เป็นน้ำก็เหือดแห้งไป ภูเขาถล่มแผ่นดินแยก ต้นไม้ใบหญ้าแห้ง
กรอบ ผู้คนไม่มีที่จะไปหลบซ่อนอาศัย ในช่วงนี้เองได้ปรากฎวีรบุรุษคนหนึ่งชื่อ" โฮ่วอี้ " เป็นผู้ที่มีฝีมือใน
การยิงธนูได้อย่างมหัศจรรย์มาก เขาได้ยิงธนูขึ้นสู่ฟ้า เพียงดอกเดียวก็ยิงถูกดวงอาทิตย์ตกลงมาถึงเก้า
ดวง เหลืออยู่เพียงแค่ดวงเดียว ถือเป็นการขจัดทุกเข็ญให้กับบรรดาประชาชน ผู้คนจึงพากันยกย่องให้
เขาเป็นกษัตริย์ แต่ทว่า พอเขาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ เขาก็ลุ่มหลงในสุราและนารี ฆ่าฟันผู้คนตามอำเภอใจ
กลายเป็นทรราช ราษฎรล้วนแต่โกรธแค้นและชิงชังเขาเป็นที่สุด โฮ่วอี้รู้ตัวว่าตัวเองคงจะอยู่เป็นสุขเช่น
นี้ไปได้อีกไม่นาน จึงเดินทางไปที่ภูเขาคุนหลุน ( คุนลุ้น ) เพื่อขอยาอายุวัฒนะจากเจ้าแม่หวังหมู่มากิน
แต่ฉังเอ๋อ ภรรยาของเขากลัวว่าถ้าสามีของเธอมีอายุยืนนานโดยไม่มีวันตายเช่นนี้ ก็จะเข่นฆ่าราษฎรต่อ
ไปเรื่อยๆ ดังนั้นเธอเลยตัดสินใจกินยาอายุวัฒนะนั้นเสียเอง แต่พอกินเข้าไป ในฉับพลันทันใด ร่างของ
เธอก็เบาแล้วก็ลอยขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ ยังมีนิทานอีกเรื่องเล่าว่า ศิษย์ของโฮ่วอี้ชื่อ" เฝิงเหมิ่ง " อิจฉาฝี
มือการยิงธนูของโฮ่วอี้มาก คอยคิดแต่จะสังหารโฮ่วอี้ อยู่มาวันหนึ่ง เฝิงเหมิ่งถือโอกาสตอนที่โฮ่วอี้ออก
ไปล่าสัตว์บังคับให้ฉังเอ๋อ ภรรยาของโฮ่วอี้มอบยาอายุวัฒนะให้แก่ตนเอง แต่ฉังเอ๋อไม่ยอม โดยกินยา
อายุวัฒนะที่มีอยู่ทั้งหมดลงท้องไป ผลก็คือ ร่างของเธอเบา และลอยขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ในที่สุด นับแต่นั้นมา
บนดวงจันทร์ก็ปรากฎนางฟ้าผู้งดงามและจิตใจดีเช่นฉังเอ๋อนี้
เนื่องจากตำนานเรื่องต่างๆที่เล่าขานเกี่ยวกับดวงจันทร์ทั้ง หลายนี้ ดังนั้นนับแต่สมัยโบราณ
เป็นต้นมา ผู้คนก็จะมีประเพณีการชมและบูชาดวงจันทร์ จักรพรรดิถือความนิยมในการบูชาพระอาทิตย์ใน
ฤดูใบไม้ผลิ และบูชาพระจันทร์ในฤดูใบไม้ร่วง พวกราษฎรก็มีประเพณีการบูชาพระจันทร์ในฤดูใบไม้ร่วง
ด้วยเช่นกัน ในการบูชาพระจันทร์นั้น ตามปกติพิธีจะเริ่มหลังจากที่ดวงจันทร์ขึ้นแล้ว บางท้องที่สิ่งที่นำมา
บูชาดวงจันทร์ได้แก่ขนมไหว้พระจันทร์ ผลไม้ ถั่ว ดอกหงอนไก่ หัวไชเท้า รากบัว เป็นต้น ในขณะที่ทำ
การบูชาดวงจันทร์นั้น เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ธาตุหยิน ก็มักจะให้ผู้หญิงไหว้ก่อน แล้วถึงให้ผู้ชายไหว้ และ
ก็ยังถึงกับมีความนิยมที่ว่าผู้ชายจะไม่ไหว้พระจันทร์อีกด้วย หลังจากไหว้พระจันทร์เสร็จแล้ว คนใน
ครอบครัวก็จะร่วมกันดื่มสุราแห่งความกลมเกลียว และกินข้าวชมจันทร์ วันนี้ผู้หญิงที่กลับบ้านแม่ไปเยี่ยม
ญาติก็ยังต้องกลับบ้านมาเพื่อความกลม เกลียว
ในฐานะที่ขนมไหว้พระจันทร์เป็นสิ่งของสำคัญในการบูชาดวง จันทร์ หลังจากการบูชาจบลง
คนทั้งบ้านก็จะแบ่งกันกิน เนื่องจากขนมไหว้พระจันทร์เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความกลมเกลียว สะท้อนให้
เห็นความหวังอันงดงามของผู้คนที่มีต่อชีวิตในอนาคตของพวกตน ดังนั้นบางที่ก็จะเรียก ขนมไหว้พระจันทร์
ว่า " ขนมแห่งความกลมเกลียว "
ตามที่เล่าขานสืบต่อกันมานั้น ขนมไหว้พระจันทร์ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ครั้นถึง
ราชวงศ์ซ่ง ( ซ้อง ) ก็ยิ่งเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ขนมไหว้พระจันทร์นั้นไม่เพียงแต่เป็นขนมที่สืบทอดกันมา
โดยถือว่าเป็นผลิตผล จากสี่ฤดูกาลเท่านั้น ในด้านการทำ รสชาติก็ยังแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่นที่ด้วย
เช่นขนมไหว้พระจันทร์แบบซูโจว ขนมไหว้พระจันทร์แบบกว่างตง ( กวางตุ้ง ) ขนมไหว้พระจันทร์
แบบเป่ยจิง ( ปักกิ่ง ) ขนมไหว้พระจันทร์แบบหนิงโป ขนมไหว้พระจันทร์แบบเฉาซาน ( แต้จิ๋ว-
ซัวเถา ) ขนมไหว้พระจันทร์แบบหยุนหนาน ( ยูนนาน ) แม้แต่ในท้องถิ่นเดียวกัน ก็ยังมีการทำไส้ขนมที่
ต่างกัน ลวดลายขนผิวขนมก็ต่างกัน และก็เรียกชื่อต่างกันไป เช่น ไส้ผลไม้ ไส้ถั่วแดง ไส้ลูกบัว ไส้แฮม
ไส้ไข่เค็ม เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา