ช่างไม้.....ผู้มี "พรหมวิหารธรรม ๔" เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
กาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องสองคนอาศัยในฟาร์มติดกัน มีเรื่องขัดแย้งกัน จนกลายเป็นเรื่องแตกหักใหญ่ในรอบ 40 ปีที่ทำฟาร์มมาด้วยกัน มีการแบ่งปันเครื่องมือ แรงงาน และสินค้าที่จำเป็น
ความสมัครสมานจบสิ้นลง เรื่องราวเริ่มจากการเข้าใจผิดเล็กน้อย แล้วสุดท้ายกลายเป็นเรื่องใหญ่โต ระเบิดคำพูดขมขื่นใส่กัน ตามมาด้วยความเงียบไม่พูดจากันเป็นแรมสัปดาห์
เช้าวันหนึ่งมีเสียงเคาะประตูที่บ้านของผู้พี่ เขาเปิดประตูพบชายคนหนึ่งพร้อมกล่องเครื่องมือช่างไม้ "ผมมาหางานทำสักสองสามวัน" "บางที่คุณอาจมีงานเล็กๆ ให้ผมมีโอกาสช่วยทำบ้างได้ไหม"
"มี" พี่ชายตอบ "ผมมีงานให้คุณทำ มองข้ามลำธารไปที่ฟาร์มนั่นสิ เป็นเพื่อนบ้านผม อันที่จริงเขาเป็นน้องชายผมเอง! สัปดาห์ก่อนมีทุ่งหญ้าระหว่างเรา เขาเอาเครื่องขุดมาทำเป็นลำธารระหว่างเรา ดี เขาคงทำเพื่อจะเย้ยผม แต่ผมจะทำให้เจ็บกว่าอีก เห็นกองไม้นั่นไหม ผมต้องการให้คุณทำรั้วสูง 8 ฟุต เพื่อผมจะได้ไม่เห็นบ้านและหน้าของเขาอีก"
ช่างไม้ตอบ "ผมเข้าใจ ช่วยหาตะปูและที่สว่านให้ผม ผมจะทำให้คุณพอใจ"
พี่ชายเข้าไปในเมือง หาอุปกรณ์ให้ช่างไม้ จากนั้นก็ออกไปทำงานของตน ช่างไม้ทำงานตลอดวัน วัด เลื่อย ตอกตะปู ตอนเย็นชาวนาผู้พี่กลับมา ช่างไม้ก็เพิ่งเสร็จงานพอดี ชาวนาตาค้าง อ้่าปากหวอ ไม่มีรั้วเลย
แต่มันกลับเป็นการสร้างสะพาน เชื่อมจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้น เป็นงานประณีตมาก เพื่อนบ้านที่เป็นน้องชาย กำลังเดินมาและยื่นมือออกมา พร้อมกล่าวว่า "คุณช่างเป็นมิตรจริงๆ สร้างสะพานทั้งๆ ที่ผมได้พูดไม่ดี และได้ทำอะไรที่ไม่ดีมากมาย"
พี่น้องยืนคนละฝั่งสะพาน และเดินมาพบกันตรงกลาง จับมือกัน พวกเขาหันไปหาช่างไม้ที่กำลังสะพายกล่องเครื่องมือเพื่อลาจาก
รอก่อน พักกับเราสักสองสามวันสิ ผมมีงานให้ทำอีกหลายอย่าง พี่ชายกล่าว "ผมก็อยากอยู่" ช่างไม้ตอบ "แต่ผมมีสะพานอีกหลายแห่งที่ต้องไปทำ" เขาเป็นช่างไม้ผู้ที่มี "พรหมวิหารธรรม ๔"
ขยายความ เรื่อง "พรหมวิหารธรรม ๔"
๑. มีความเมตตา ซึ่งเป็นความรัก ที่แสดงออกต่อชาวนาผู้พี่และต่อบุคคลอื่น
๒. มีความกรุณา คือ มีความสงสาร อยากช่วยให้พ้นทุกข์ พ้นปัญหาความบาดหมางกัน
๓. มีมุทิตา คือ มีความยินดี ที่เห็นพี่น้องดีกัน สามัคคีสมานฉันท์กัน
๔. อุเบกขา คือ วางเฉย ที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น
"พรหมวิหารธรรม" เป็นของหายากจากผู้ที่มีแต่ความเห็นแก่ตัว แต่ "พรหมวิหารธรรม" มีอยู่ใน "บิดา-มารดา" ที่แสดงออกต่อผู้เป็น "บุตร-ธิดา" ของตน แต่น้อยคนนักที่จะคิดแผ่ขยายไปยังบุคคลอื่น เว้นแต่ผู้ที่มี "ธรรมะ" ประจำใจ คือเป็นผู้ที่มีกิเลส "โลภ โกรธ หลง" น้อยแล้วเท่านั้น ดังเช่น "ช่างไม้" ในเรื่องนี้เป็นต้น
"พรหมวิหารธรรม" สามารถพบได้จาก "พระอรหันต์" ผู้สิ้นจากกิเลสแล้วเท่านั้น ท่านจะแสดงอาการที่เปี่ยมไปด้วย ความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ที่ผู้ที่เข้าไปพบรู้สึกได้ด้วยตนเอง
โปรดจำไว้ว่า …..
ไม่สำคัญว่ารถยี่ห้ออะไรที่คุณขับ แต่เคยมีกี่คนที่คุณได้ช่วยเหลือในยามที่พวกเขาต้องการ
ไม่สำคัญว่าบ้านคุณมีพื้นที่กว้างเท่าไร แต่ว่ามีกี่คนที่คุณเคยต้อนรับเพื่อนเข้าบ้าน
ไม่สำคัญว่ามีเสื่อผ้ากี่ชุดในตู้ แต่ว่ามีกี่คนที่คุณเคยบริจาคให้เสื่อผ้าแก่ผู้อื่น
ไม่สำคัญว่าคุณมีเพื่อนกี่คน แต่ว่ามีกี่คนที่คุณเป็นเพื่อนกับเขา
ไม่สำคัญว่าคุณพักอาศัยที่ไหน แต่ว่าคุณปฏิบัติอย่างไรกับเพื่อนบ้าน
ไม่สำคัญว่าคุณเชื้อชาติอะไร แต่ว่าตัวคุณนิสัยคุณเป็นคนเช่นไร
ไม่สำคัญว่าทำไมคุณใช้เวลานานจังในการศึกษาและปฏิบัติธรรม แต่ไม่สายเกินไปที่จะเริ่มวันนี้ เพราะคุณโชคดีที่ได้เกิดมาพบ "พระพุทธศาสนา" แล้ว
ไม่สำคัญว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใดในการศึกษา "ธรรมะ" แต่ขอให้รู้ไว้ว่า "ธรรมะ" ของพระพุทธเจ้า เป็น "ธรรมะ" ที่ "บริสุทธิ์เต็ม ๑๐๐" เพราะกลั่นออกมาจากพระจิตที่บริสุทธิ์ ปราศจาก "มวลกิเลส" ทั้งปวงของพระองค์
ไม่สำคัญว่าคุณส่งต่อเมล์นี้ไปให้เพื่อนกี่คน แต่ให้ถามว่าทำไมคุณถึงรู้สึกอายที่จะส่งต่อเมลนี้
ขยายความ เรื่อง "พรหมวิหารธรรม"
๑. มีความเมตตา ซึ่งเป็นความรักที่แสดงออกต่อชาวนาผู้พี่
๒. มีความกรุณา คือ สงสารอยากช่วยให้พ้นปัญหาความบาดหมางกัน
๓. มีมุทิตา คือ ยินดีที่เห็นพี่น้องดีกัน สามัคคีสมานฉันท์กัน
๔. อุเบกขา คือ วางเฉยที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น
"พรหมวิหารธรรม" เป็นของหายากจากผู้ที่มีแต่ความเห็นแก่ตัว แต่ "พรหมวิหารธรรม" มีอยู่ใน "บิดา-มารดา" ที่แสดงออกต่อผู้เป็น "บุตร-ธิดา" ของตน แต่น้อยคนนักที่จะแผ่ขยายไปยังบุคคลอื่น เว้นแต่ผู้ที่มี "ธรรมะ" ประจำใจ คือเป็นผู้ที่มีกิเลส "โลภ โกรธ หลง" น้อยแล้วเท่านั้น ดังเช่น "ช่างไม้" ในเรื่องนี้เป็นต้น
"พรหมวิหารธรรม" สามารถพบได้จาก "พระอรหันต์" ผู้สิ้นจากกิเลสแล้วเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น