ต้องอ่าน
>
> เพื่อนผมคนนี้ได้รับโทรศัพท์จากหมายเลข +8886226994822 เวลาประมาณ 13.45 น. โดยแจ้งว่า
> เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพฯ พร้อมกับเหตุการณ์ตามลำดับดังนี้ครับ
>
> 1.) ระบุชื่อพร้อมนามสกุลได้อย่างถูกต้อง
>
> 2.) แล้วถามว่ามีบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพฯหรือเปล่า เพราะมีคนอื่นนำไปใช้และเป็นหนี้อยู่
> 59000 บาท
>
> 3.) ด้วยความว่าเพื่อนผมคนนี้ไม่มีบัตรเครดิตและตกใจ จึงแจ้งไปว่า"ไม่มี"
>
> 4.) คนร้ายจึงบอกว่าน่าจะมีคนนำข้อมูลส่วนตัวไปทำบัตรเครดิตหรือใช้ทำธุรกรรมการเงินอื่นๆ จึงแนะ
> นำมาว่าให้นำบัตร ATM ไปล็อคข้อมูล โดยจะติดต่อธนาคารแห่งประเทศไทยให้ แล้วจากนั้นก็วางสายไป
>
> 5.) เวลาผ่านไปประมาณ 5-10 นาที มีการโทรเข้ามาใหม่ และ โอนสายให้ผู้อื่น โดยที่แจ้งว่าเป็น
> เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางแห่งประเทศไทย โดยที่ทำทีให้เสียงบรรยากาศรอบข้างนั้นเป็นส่วนสำนักงาน
> ธนาคาร
>
> 6.) แนะนำให้ lock ข้อมูลบัตร ATM ไว้ก่อน โดยที่ทางนั้นจะบอกวิธีการให้ ไปที่ตู้ ATM ที่ใกล้ที่สุด
>
> 7) โทรมาอีกครั้งเมื่อเดินทางมาถึงตู้ ATM บอกให้ทำรายการที่ mode ภาษาอังกฤษ โดยให้กดปุ่ม
> transfer ทางเพื่อนผมก็สงสัยว่าจะเป็นการโอนเงินก็เลยถาม พอถามทางนั้นก็บอกว่าจะต้องทำ
> รายการผ่าน mode นี้
>
> 8) หลอกให้กด หมายเลขบัญชี กดตัวเลขที่ตำแหน่งยอดเงินโอน (Amount) พอถามก็บอกว่า
> "ไม่ใช่ยอดเงินแต่เป็นรหัสพิเศษสำหรับ lock ATM"
>
> 9) พอดีเพื่อนผมเห็นเป็นตัวเลข 4 หลัก ซึ่งไม่ใช่ยอดจำนวนเงินหรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับจำนวนเงินเลย
> เหมือนเป็นรหัส จึงกดต่อไป ปรากฎว่ามารู้ภายหลังเงินก็หายเกือบหมดบัญชีเลย (ก็ร่วมแสนล่ะครับ) อัน
> นี้จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า"ทำได้ด้วยหรือ" แค่กดรหัส 4 ตัวแล้วโอนหมดเลย (เหลือ 100กว่าบาท) แถมไม่
> มีหน้าจอยืนยันข้อมูลอีกครั้งเหมือนภาษาไทย
>
> 10) ตอนนี้เพื่อนผมแจ้งความแล้ว โง่เสียเงินแล้ว อยากให้มัน (ทางคนร้าย) โดนจับ จะได้ไม่ไป
> หลอกคนอื่นอีก ตรวจสอบบัญชีที่โอนไปอยู่จังหวัดน่าน ก็เลยโทรถามเจ้าของบัญชี ครั้งแรกก็บอกว่าแม่
> หรือเพื่อนเอาไปใช้ โทรถามอีกครั้ง ก็บอกว่าหายไปแล้วทั้งบัตร ATM + สมุดบัญชี
> (เลยไม่รู้ว่าพวกเดียวกันหรือเปล่า)
>
> 11) บัญชีนี้เปิดเมื่อ 9 ธค เพื่อนผมก็โดนหลอก 21 ธค โทรถามข้อมูลจากทางธนาคาร 22 ธค
> โดยที่กด ATM แล้วที่ กทม. หลังโอนไม่เกินครึ่ง ชม.
>
> 12) ตอนนี้ก็ไม่รู้จะเป็นยังไงต่อไป ก็เลยมาเล่าให้ฟังเผื่อจะมีประโยชน์บ้าง....
>
> ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
>
>
> ที่มา : http://www.posttoday.com/finance.php?id=80666
>
> กระบวนการหลอกลวงเอาเงินประชาชนหรือหลอกเหยื่อให้โอนเงินให้ พวกนี้จะทำงานเป็นแก๊ง 18
> มงกุฎ มีการสร้างพล็อตเรื่องขึ้นมา โดยโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (VOIP) ไปหาเหยื่อ แล้วสร้าง
> เรื่องขึ้นมามีสองเรื่องใหญ่ๆ คือ 1.เรื่องโลภ และ 2.เรื่องกลัว
>
> เรื่องโลภ เช่น หลอกว่าเป็นผู้โชคดีถูกลอตเตอรี่ ถ้าต้องการเงินคุณต้องไปทำรายการที่ตู้
> เอทีเอ็มเพื่อให้เงินโอนเข้ามาที่บัญชี จุดสำคัญที่สุดคือหลอกให้เหยื่อไปที่เครื่อง เอทีเอ็มให้ได้ โดยใช้
> ความโลภล่อให้ไปติดกับ อีกอย่างคืออ้างว่าเป็นกรมสรรพากรว่าได้รับเงินคืนภาษี ก็หลอกให้ไปกด
> เอทีเอ็ม หลอกล่อให้โอนเงินให้
>
>
> (Embedded image moved to file: pic00041.jpg)
>
>
>
>
>
>
> ในเรื่องความกลัว จะ หลอกว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต โทร.มาจากศาล โทร.มาจากสำนักงาน
> ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) โทร.มาเพราะสงสัยว่าบัญชีเราจะมีการฟอกเงิน เป็นการ
> สร้างเรื่องให้กลัว เป็นการสร้างจิตวิทยาให้คนขาดสติ เมื่อเกิดความโลภ ความกลัว คนก็จะขาดสติ
> แก๊งนี้จะใช้จิตวิทยาจูงเราเข้าไปทำอะไรที่เขาต้องการ เช่น โอนเงินให้ เพราะฉะนั้นคอลเซ็นเตอร์ที่
> เขาไปตั้งมีการแบ่งการทำงานเป็น 3 ทีม คือ 1.ทีมยิง 2.ทีมประสาน และ 3.ทีมเชือด เราไม่ได้ตั้ง
> ชื่อให้เขา แต่คนที่เราจับมาเล่าให้ฟังว่าเขามีการตั้งชื่อทีมกันเอง
>
> ทีมที่หนึ่ง เรียกว่า ทีมยิง คือ มีหน้าที่ โทร.เข้าไปหาลูกค้าแล้วแจ้งว่าคุณเป็นหนี้บัตรเครดิต มี
> รายการใช้บัตรเครดิตไหม แจ้งข่าวสารให้เหยื่อเกิดความกลัว พอปฏิเสธว่าไม่ได้ใช้บัตรเครดิต ไม่ได้
> เป็นหนี้ เขาก็จะบอกว่าคุณอาจจะโดนกลุ่มมิจฉาชีพเอาบัตรไปใช้ ทางธนาคารได้มีการประสานงานกับ
> เจ้าหน้าที่ตำรวจ เดี๋ยวจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจโทร.ไปหาเพื่อช่วยเหลือเรื่องนี้ ก็จะเป็นทีมที่สอง เรียกว่า
> ทีมประสาน
>
> ทีมประสาน ก็จะโทร.เข้ามาและ หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ มียศร้อยตำรวจเอก พันตำรวจ
> ตรี เป็นสารวัตรอยู่กองบังคับการตำรวจคดีเศรษฐกิจ (บก.สศก.) หลอกว่าได้รับประสานกับธนาคาร
> เรื่องการทุจริต ขอให้คุณให้ข้อมูลกับทางราชการด้วยความถูกต้อง การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเป็นการให้
> ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อราชการมีโทษเป็น ความผิดทางกฎหมายด้วย ก็จะสอบถามชื่อ นามสกุล วันเดือนปี
> เกิด เลขที่บัตรประชาชน เลขที่บัตรเครดิต ฯลฯ จะถามคำถามหลอกไปเรื่อยๆ เป้าหมายเขาต้องการ
> ทราบว่าคุณมีเงินเท่าไร อยู่แบงก์อะไรบ้าง พอได้ข้อมูลส่วนตัวว่ามีเงินในแบงก์ไหนจำนวนเท่าไร ไม่จำ
> เป็นว่าจะต้องรู้หมายเลขบัญชี เขามีหมายเลขบัญชีปลายทาง เหยื่อจะถูกหลอกให้เอาบัตรเอทีเอ็มไปใส่
> ในตู้เอทีเอ็ม เหยื่อก็จะกดรหัส เอทีเอ็ม จะโอนเงินไปบัญชีปลายทาง จะกดบัญชีปลายทาง เพราะฉะนั้น
> เขาไม่จำเป็นต้องรู้เลขบัญชี แต่เขามีบัญชีปลายทางที่จะบอกเหยื่อให้กดเงินโอนไปบัญชีปลายทาง สิ่งที่
> เขาต้องการรู้คือว่าคุณมีเงินในบัญชีเท่าไร หลังจากนั้นก็ส่ง ให้ทีมที่สาม เรียกว่า ทีมเชือด
>
> ทีมเชือด จะ อ้างว่าเป็นผู้กำกับ เมื่อสักครู่รับรายงานจากสารวัตร แจ้งมาให้คุณรีบไปทำการ
> ป้องกันเงินคุณในบัญชีก่อน โดยใช้รหัส 32 ซึ่งทางธนาคารกับตำรวจประสานงานกันอยู่ และให้เหยื่อไปที่
> ตู้เอทีเอ็มแล้วจะบอก ขั้นตอนให้ทำตาม คือสุดท้ายวิธีการก็หลอกให้เหยื่อไปที่ตู้เอทีเอ็มให้ได้เพราะได้
> ข้อมูลมา ถ้าเหยื่อไม่ไปที่ตู้เอทีเอ็มก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องหลอกให้เหยื่อไปที่ตู้ เอทีเอ็ม เหยื่อเอาบัตร
> เอทีเอ็มกดรหัสตัวเอง ซึ่งแก๊งมิจฉาชีพไม่รู้รหัสเราหรอก หลอกให้เหยื่อใส่รหัสไป แต่คนที่อยู่ทีมเชือดก็
> จะมีหน้าจอของตู้เอทีเอ็มทุกแบงก์ และบอกให้เหยื่อกดปุ่มโน้นปุ่มนี้ตามที่บอก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเมนูภาษา
> อังกฤษ ให้กดทรานส์เฟอร์ (โอนเงิน) ตามจำนวนเงินที่มี แล้วก็โอนเงินไปหมายเลขปลายทาง แก๊ง
> มิจฉาชีพโทร.มาหลอกลวงให้โอนเงินให้ไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องเสียหายระดับประเทศ สิ่งที่
> ชมรมพยายามผลักดันให้นักการเมือง ผู้บริหารประเทศ และ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรับทราบปัญหาที่
> จะได้สั่งการตั้งทีมงานขึ้นมาโดย เฉพาะที่จะมีการปราบปรามอย่างจริงจัง
>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น