วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

เอามาฝาก...สำหรับผู้สนใจปฏิบัติธรรม‏

Subject: เอามาฝาก...สำหรับผู้สนใจปฏิบัติธรรม


มาทำความเข้าใจกับคำว่า ปฏิบัติธรรม
นักปฏิบัติธรรมที่เข้ามาใหม่ มักจะมีความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติธรรมไม่ตรงนัก จึงทำให้มีข้อสงสัย และ ปฏิบัติธรรมไม่ได้ผลดี ในที่สุดก็ท้อถอย เพราะไม่ได้ผล และ เลิกลากันไป



เอามาฝากจาก



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2009&date=06&group=1&gblog=85


ลองดู อย่างอื่นใน blogด้วย น่าสนใจดี

อ่านแล้วได้แนวความคิด ว่าเรา อย่าไปติดกับวิธีการมากเกินไป จนทำให้เราลืมเนื้อหา หรือ แก่นแท้ของเรื่องนั้นๆ








นักปฏิบัติมือใหม่มักเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมคือ

1 การนั่งสมาธิ ยิ่งตัวนิ่งแข็งเป็นหินไม่ไหวติงได้นานเท่าใด ถือว่ายิ่งใช้ได้

2 การปฏิบัติธรรม คือ การก้าวข้ามเวทนา ต้องนั่งให้เกิดการเจ็บปวดที่ขา ที่ลำตัว แล้วนั่งต่อไปจนกว่าจะชนะเวทนานี้

3 การปฏิบัติธรรม คือ การเดินจงกรม เดินให้มาก ๆ ยิ่งมากยิ่งดี

4 การปฏิบัติธรรมคือการท่องบ่น ด้วยคำบริกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น พุทโธ พองหนอยุบหนอ สัมมาอรหัง นะมะพะทะ และ อื่น ๆ อีกมาก

5 การปฏิบัติธรรม คือ การใส่ชุดขาวแล้วไปวัดฟังธรรม สวดมนต์ นอนค้างที่วัดในวันพระ

6 การปฏิบัติธรรม คือ การเพ่งกสิณทั้ง 10 อย่าง

7 การปฏิบัติธรรม คือ การดูจิต ดูใจ

8 การปฏิบัติธรรม คือ การไม่ต้องทำอะไร ตามที่มหายานสอนไว้

9 อาจมีอื่น ๆ อีกทีไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น

สิ่งทีเขียนมานี้ จะว่าใช่การปฏิบัติธรรมหรือไม่ใช่การปฏิบัติธรรม ไม่อาจที่จะตอบได้ว่า ใช่หรือไม่ใช่ เพราะสิ่งที่เขียนมาข้างต้น เป็นเพียงรูปแบบการปฏิบัติ แต่การปฏิบัติธรรมนั้น ต้องมีอีกสิ่งหนึ่ง ที่เพิ่มจากรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวถึง นั่นก็คือ "จิตรู้ "ในการปฏิบัตินั้น ๆ อยู่

ถ้าขาด "จิตรู้ "ในการปฏิบัตินั้น ๆ อยู่ ก็ไม่ใช่การปฏิบัติเพือการพ้นทุกข์

ดังนั้น การปฏิบัติทุกอย่างเพื่อการพ้นทุกข์ ไม่ว่าแบบใด ใช้ได้ทั้งสิ้น ถ้าการปฏิบัตินั้น ๆ ประกอบด้วย "จิตรู้ "ในการปฏิบัตินั้น ๆ อยู่

บางท่านอาจสงสัยว่า แบบใด ดีกว่าแบบใด เรื่องนี้ ก็คือแล้วแต่จริตนิสัยของแต่ละท่านที่ชอบไม่เหมือนกัน ท่านต้องลองดูเองในแต่ละแบบ
แต่ในพุทธประวัติ ก็มีการอ้างถึง พิณ 3 สายที่เกียวเนื่องกับการปฏิบัติ
ท่านควรจะพิจารณาในข้อนี้ด้วย

เมื่อท่านเข้าใจในการปฏิบัติธรรมแล้วว่า ต้องประกอบด้วย "จิตรู้ "ในการปฏิบัตินั้น ๆ อยู่ ทีนี้ท่านก็ลองสำรวจตัวเอง สำรวจคำสอนของสำนักที่สอนดูว่า มีไหม เพื่อการปรับตัวของท่านเอง ถ้าการปฏิบัติของท่านไม่ประกอบด้วย"จิตรู้ "ในการปฏิบัตินั้น ๆ อยู่ ท่านก็จะเดินไม่ตรงกับคำว่า ปฏิบัติธรรมแบบพุทธเพื่อการพ้นทุกข์ทางใจ เรื่องนี้สุดแล้วแต่ท่านและวาสนาของท่านครับ

คำว่า "จิตรู้ "ในการปฏิบัตินั้น ๆ อยู่ ก็คือ การมีอยู่ของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ นั้นเอง ซึ่งเรื่องสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผมมีเขียนไว้หลายที่ใน blog ของผม ลองหาอ่านเพิ่มเติมดูครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา