ความรู้จากแพทย์จีน
อาจารย์ท่านแนะนำเคล็ดลับไว้ 12 ข้อดังต่อไปนี้...
1. หวีผมบ่อยๆ:
หวีผมเบาๆ บ่อยหน่อยช่วยให้ตาสว่าง และรากผมแข็งแรง (ใช้หวีซี่ห่างหน่อย
แปรงเบาหน่อย เพื่อกันผมหลุด)
2. ถูใบหน้าบ่อยๆ:
ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ให้สะอาดก่อน หลังจากนั้นใช้ฝ่ามือ 2
ข้างถูหน้าเบาๆ บ่อยหน่อยเพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ใบหน้าเปล่งปลั่ง
3. เคลื่อนไหวดวงตาบ่อยๆ:
ให้มองไกล-มองใกล้ มองข้างนอก-ข้างใน มองบน-มองล่าง หลีกเลี่ยงการมอง
หรือจ้องอะไรนานๆโดยเฉพาะคนที่ทำงานคอมพิวเตอร์ควรพักสายตาด้วยการมองไกลอย่างน้อยทุกชั่วโมง
4. กระตุ้นใบหูบ่อยๆ:
การดึงหู ดีดหู บีบหู ถูใบหูเบาๆ บ่อยหน่อย ช่วยบำรุงตานเถียน(จุดฝังเข็ม)
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เก็บพลังงานของร่างกาย(ใต้สะดือ) สัมพันธ์กับไต ซึ่งเปิดทวารที่หู ทำให้แรงดี ป้องกันเสียงดังในหู หูตึง และอาการเวียนหัว
5. ขบฟันบ่อยๆ:
ขบฟันเบาๆ บ่อยหน่อย(ไม่ใช่ขบแรงดังกรอดๆ) ช่วยให้ฟันแข็งแรง
และกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย
6. ใช้ลิ้นดุนเพดานปากบ่อยๆ:
การใช้ปลายลิ้นกระตุ้นเพดานบนด้านหน้าเป็นการกระตุ้นจุดฝังเข็ม
เพื่อเชื่อมพลังลมปราณตู๋และเยิ่น ซึ่งเป็นเส้นควบคุมแนวกลางลำตัวส่วนหลัง และส่วนหน้าร่างกาย ทำให้เกิดการกระตุ้นการหลั่งสารน้ำ และน้ำลาย
7. กลืนน้ำลายบ่อยๆ:
การกลืนน้ำลายบ่อยๆ ช่วยกระตุ้นพลังบริเวณคอหอย และกระตุ้นการย่อยอาหาร
8.. หมั่นขับของเสีย:
หมั่นขับของเสีย โดยเฉพาะดื่มน้ำให้พอ กินอาหารที่มีเส้นใย ออกกำลัง
เพื่อป้องกันท้องผูก เมื่อปวดปัสสาวะหรืออุจจาระให้ถ่ายทันที อย่ารอโดยไม่จำเป็น
การทิ้งของเสียไว้ในร่างกายนานเกินทำให้เกิดสารพิษ และการดูดซึม
สารพิษ (กลับเข้าสู่ร่างกาย) มากขึ้น ทำให้ป่วยง่าย
9. ถูหรือนวดท้องบ่อยๆ:
ให้นวดท้องตามเข็มนาฬิกาเบาๆ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายของเสียดีขึ้น
10. ขมิบก้นบ่อยๆ:
การขมิบก้นบ่อยๆ ช่วยป้องกันริดสีดวงทวาร และท้องผูก
11. เคลื่อนไหวทุกข้อ:
การอยู่นิ่งๆ หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ทำให้เกิดโรคได้ง่าย
ควรเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ให้ครบทุกข้อกวัน ฝึกฝนการใช้กล้ามเนื้อและข้อให้สมดุล เช่น การฝึกชี่กง ไท้เก้ก โยคะ ฯลฯ
12. ถูผิวหนังบ่อยๆ:
ใช้ฝ่ามือถูตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย คล้ายกับการถูตัวเวลาอาบน้ำ
มีส่วนช่วยให้เลือดและพลังไหล เวียนดี
เรียนเชิญท่านผู้อ่านลองนำไปปฏิบัติดู เพื่อสุขภาพ พลัง และลมปราณที่ดีไปนานๆ
ครับ...
ท่านอาจารย์นายแพทย์ภาสกิจ(วิทวัส) วัณนาวิบูล อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนจีน แนะนำเคล็ดลับการดูแลสุขภาพ ตามศาสตร์แพทย์แผนจีนว่า
อาหาร 10 อย่างที่ไม่ควรกินมากเกินนำแนวคิดศาสตร์แพทย์แผนจีนมาวิเคราะห์โดยใช้หลักแพทย์แผนปัจจุบันประกอบ...
อาหารที่ไม่ควรกินมากเกิน หรือบ่อยเกินได้แก่...
1. ไข่เยี่ยวม้า:
ไข่เยี่ยวม้ามีตะกั่วค่อนข้างสูง ตะกั่วทำให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยลง กินบ่อยๆ
จะเสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบาง และอาจได้รับพิษตะกั่วเช่น สมองเสื่อม เป็นหมัน ฯลฯ
2. ปาท่องโก๋:
กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้ม ซึ่งมีตะกั่วปนเปื้อน ตะกั่วทำให้ไตทำงานหนักในการขับสารนี้ออกไป นอกจากนั้นยังทำให้คอแห้ง เจ็บคอง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคร้อนในได้ง่าย
3. เนื้อย่าง:
กระบวนการรมไฟ ย่างไฟทำให้เกิดสารเบนโซไพรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
4. ผักดอง:
ผักดอง และของหมักเกลือทำให้ร่างกายได้รับเกลือโซเดียมสูง ถ้ากินบ่อยเกิน
หรือมากเกินจะทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดความดันเลือดสูงและโรคหัวใจได้ง่าย
นอกจากนั้นกระบวนการหมักดองยังทำให้เกิด สารแอมโมเนียมไนไตรด์ ซึ่งเป็นสาร ก่อมะเร็ง
5. ตับหมู:
ตับหมูมีโคเลสเตอรอลสูง การกินตับหมูบ่อยเกิน หรือมากเกินทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง(อัมพฤกษ์-อัมพาต) และโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น
6. ผักขม ปวยเล้ง:
ผักขมและปวยเล้งมีสารอาหารสูง ทว่า... มีกรดออกซาเลตมาก ทำให้เกิดการขับสังกะสี และแคลเซียมออกจากร่างกายมาก การกินบ่อยเกิน
หรือมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียม หรือสังกะสีได้
7. บะหมี่สำเร็จรูป:
บะหมี่สำเร็จรูปมีสารกัดบูด สารแต่งรสค่อนข้างสูง และมีคุณค่าทางอาหารต่ำ
การกินบะหมี่สำเร็จรูปมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคขาดอาหาร และการสะสมสารพิษได้
8. เมล็ดทานตะวัน:
เมล็ดทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทว่า... การกินมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้กระบวนการเคมี (metabolism) ในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ ภาวะไขมันในตับสูงอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคตับ เช่น ตับแข็ง ฯลฯ เพิ่มขึ้น
9. เต้าหู้หมัก เต้าหู้ยี้:
กระบวนการหมักเต้าหู้อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย...
ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนสูงอายุ หรือเด็กเล็กได้ นอกจากนี้กระบวนการผลิตยังทำให้เกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
10. ผงชูรส:
คนเราไม่ควรกินผงชูรสเกินวันละ 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา...
การกินผงชูรสมากเกิน หรือบ่อยเกิน ทำให้เกิดภาวะกรดกลูตามิกในเลือดสูงอาจทำให้ปวดหัว ใจสั่น คลื่นไส้ และมีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น