วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

13 รอยเลื่อนที่มีพลังพาดผ่าน 22 จังหวัดในประเทศไทย

13 รอยเลื่อนที่มีพลังพาดผ่าน 22 จังหวัดในประเทศไทย

- รอยเลื่อน ซึ่งอยู่ใต้พื้นดิน เมื่อไรที่เลื่อน ก็จะเกิดแผ่นดินไหว

- “แผ่นดินไหว” เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน

อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานความเครียดจากใต้พื้นพิภพอย่างฉับพลัน เพื่อปรับ

สมดุลของเปลือกโลก โดยมี 2 สาเหตุสำคัญ คือ

1. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู และแรง

ระเบิดจากการทำเหมือง เป็นต้น

2. เกิดจากธรรมชาติ มี 2 ทฤษฎี คือ

2.1 ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของแผ่นเปลือกโลก เชื่อว่า

แผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกคดโค้งโก่งงออย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกัน

จึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว

2.2 ทฤษฎีที่ว่าด้วยการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก เชื่อว่า

แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนนั่นเอง

- “รอยเลื่อน” เป็นผลพวงจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (มีทั้งหมด 12

แผ่น) ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บางแผ่นเคลื่อนตัวเข้าหากันและมุดซ้อนเกยกัน และ

บางแผ่นแยกออกจากกัน ขณะที่บางแผ่นเคลื่อนเฉียดกัน ทำให้เกิดแรงเครียดสะสมไว้

ภายในเปลือกโลก เมื่อรอยเลื่อนขยับตัวก็จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของการ

สั่นไหว ทำให้เกิดแผ่นดินไหวนั่นเอง ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวจากสถาบันเทคโนโลยีแห่ง

เอเซีย หรือเอไอที บอกไว้ว่า การเกิดแผ่นดินไหวที่จะสร้างความเสียหายและผลกระทบให้

ประเทศไทยมากที่สุด คือ การเกิดแผนดินไหวใกล้ๆ กรุงเทพฯ ซึ่งมีเพียงปัจจัยจาก

รอยเลื่อน 2 แหล่ง คือ รอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่ากับรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์

และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ในประเทศไทย



13 รอยเลื่อนที่มีพลังพาดผ่าน 22 จังหวัดในประเทศไทย

รอยเลื่อนสะแกง อยู่ห่างจาก กรุงเทพฯ ประมาณ 400 กม. ส่วนรอย

เลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ อยู่ห่างจาก กรุงเทพฯ ประมาณ 200

กม. แถมยังมีเขื่อนขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อน นั่นคือ เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นแรงหนุนให้

เกิดความเสียหายอันประเมินค่ามิได้ ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงจากรอยเลื่อนดังกล่าว

กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลการสำรวจรอยเลื่อนที่มีพลัง

ในการเคลื่อนตัวในประเทศไทย พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนใหญ่ๆ อยู่หลายแนว

โดยสามารถจัดกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญได้ 13 กลุ่ม โดยกลุ่มรอยเลื่อนทั้งหมดวางแนว

พาดผ่านพื้นที่ 22 จังหวัด คือ ภาคเหนือ 11 จังหวัด ภาคใต้ 6 จังหวัด

ภาคตะวันตก 3 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด มีดังนี้.-

1. กลุ่มรอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง พาดผ่านเชียงรายและเชียงใหม่

2. กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านแม่ฮ่องสอนและตาก

3. กลุ่มรอยเลื่อนเมย พาดผ่านตากและกำแพงเพชร

4. กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย

5. กลุ่มรอยเลื่อนเถิน พาดผ่านลำปางและแพร่

6. กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านลำปาง เชียงราย และพะเยา

7. กลุ่มรอยเลื่อนบัว พาดผ่านน่าน

8. กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอุตรดิตถ์

9. กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านกาญจนบุรีและราชบุรี

10. กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านกาญจนบุรีและอุทัยธานี

11. กลุ่มรอยเลื่อนท่าแขก พาดผ่านหนองคายและนครพนม

12. กลุ่มรอยเลื่อนระนอง พาดผ่านประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา

13. กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านสุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา

จากการสำรวจกลุ่มรอยเลื่อนใน จ.กาญจนบุรี ของกรมทรัพยากรธรณี ทำให้

ทราบว่าสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวจากกลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีความรุนแรง 5.3 และ

5.9 ริคเตอร์ หลังจากนั้นเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้งทางตอนเหนือของ อ.ศรีสวัสดิ์

เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนบ่องาม และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์นั่นเอง



ส่วนกลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เคยเกิดแผ่นดินไหวบริเวณ ต.กลอนโด อ.เมือง

จ.กาญจนบุรี เป็นผลให้พื้นดินแยกเป็นระยะทางยาว 300 เมตร และกว้าง 1 – 2 เมตร

ลึก 150 เมตร การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนั้นไม่มีรายงานผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน

เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากชุมชนมาก

เช่นเดียวกับการศึกษาวิจัยเรื่อง “แผ่นดินไหวในประเทศไทยและผืนแผ่นดิน

ตะวันออกเฉียงใต้” ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า รอยเลื่อนที่น่า

จับตาที่สุด 2 แหล่ง คือ รอยเลื่อนแม่จัน และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เพราะรอยเลื่อน

ดังกล่าวค้นพบหลักฐานทางธรณีวิทยาว่า เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง

“การศึกษารอยเลื่อนเพื่อให้ทราบว่าพื้นที่ตรงไหนมีรอยเลื่อน มีพลังพาด

ผ่านบ้าง จะได้ประกาศเตือนชาวบ้านไม่ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ และใช้ในแผนการ

ก่อสร้างอาคารอย่างที่ไต้หวันไปสร้างสวนอุตสาหกรรมบนรอยเลื่อน พอเกิดแผ่นดินไหว

ปรากฏว่าตึกรามบ้านช่องถล่มทลายลงมาหมด บ้านเราจำเป็นต้องศึกษารอยเลื่อนต่างๆ ไว้

เป็นเครื่องเตือนใจ แต่ก็มีคนที่ทำงานสำรวจรอยเลื่อนไม่เกิน 10 คนเท่านั้น

จากการศึกษารอยเลื่อนพบว่า ถนนจาก อ.ฝาง ไป อ.เชียงแสน ตลอด

ทั้งเส้นสร้างอยู่บนรอยเลื่อนแม่จัน จึงทำให้ถนนเส้นนี้เกิดปัญหาดินถล่มบ่อยครั้ง ส่วน

รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ก็มีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่มาก ถ้าเกิดแผ่นดินไวที่มีความรุนแรง

เกิดขึ้นอาจทำให้มีปัญหากับเขื่อนอาจทำให้เขื่อนเสียหายได้

นอกจากรอยเลื่อนในประเทศไทยแล้ว รอยเลื่อนที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า ยังเป็นสิ่ง

ที่นักวิชาการแผ่นดินไหวส่วนใหญ่กังวลใจมากที่สุดนั่นคือรอยเลื่อนสะแกง และรอยเลื่อน

เจดีย์สามองค์อาจเป็นแขนงของรอยเลื่อนสะแกง โดยที่รอยเลื่อนสะแกงนั้นเชื่อมต่อกับ

รอยต่อของแผ่นเปลือกโลกนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา