วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างพรบ.ความมั่นคงและ พรก.ฉุกเฉิน

พ.ร.บ.ความมั่นคง กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน



นำคำพูดบางตอนของ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ที่ได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน แบบสรุปย่อ มาให้อ่านกัน


พ.ร.บ. ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มีข้อแตกต่างกัน 4 ข้อ ได้แก่



1. พ.ร.บ.ความมั่นคง ประชาชนฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ได้ แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฟ้องไม่ได้

2. พ.ร.บ.ความมั่นคง ยังอนุญาตให้มีการชุมนมได้ แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่อนุญาตให้ชุมนุม

3. พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้อำนาจมากกว่า พ.ร.บ.ความมั่นคง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติสามารถปิดล้อม-ตรวจค้น-จับกุมได้

4. หลังเสร็จสิ้นการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง รัฐบาลต้องทำรายงานไปยังรัฐภา และเปิดให้รัฐสภาสอบถาม ดังนั้นปฏิบัติการต่างๆจึงต้องมีแผนงานชัดเจน แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่จำเป็นต้องรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งหากไม่จำเป็นจริงๆ รัฐบาลก็จะไม่นำพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาใช้



ถ้ามีความพยายามจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการสร้างความรุนแรง มีความพยายามก่อวินาศกรรม หรือก่อความวุ่นวาย ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล โดย

เบื้องต้นจะใช้กรอบกฎหมายปกติคือใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหลักและใช้ทหารและพลเรือนเป็นกำลังเสริม จนกว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง



ถ้ามีการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงก็จะมีทหารเป็นกำลังหลัก แต่หากสถานการณ์บานปลายและรุนแรงมากก็จำเป็นต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ที่ดุลพินิจของฝ่ายบริหารว่าจะให้กำลังของฝ่ายไหนเข้ามาดูแล ซึ่งเมื่อใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประชาชนจะไม่สามารถฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา