วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

17-18 พ.ย.52...ฝนดาวตกมาแร๊ว ค๊าบ‏

ฝนดาวตก มาแล้ว! ชมชัดๆ17-18พฤศจิกาฯนี้




สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิญชวน
คนไทยร่วมชมปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" หรือ "ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวสิงโต"
ที่หวนกลับมาให้เห็นกันอย่างชัดเจน-จุใจอีกครั้ง 17-18 พฤศจิกายน!

กลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" ซึ่งสามารถสังเกต
เห็นได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลกมากบ้างน้อยบ้าง โดยปีที่มองเห็นสูงสุดต้องย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.
2541 และ 2544

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดจากเศษซากหลงเหลือของ "ดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล"

มีวงโคจรรอบ "ดวงอาทิตย์" เป็นวงรี โดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี

และทุกๆ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็น
พิเศษ เรียกว่า "พายุฝนดาวตก" (Meteor Storm) ซึ่งการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์
มากที่สุดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 และจะเข้าใกล้ครั้งต่อไปใน
วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2556

อย่างไรก็ตาม สำหรับเดือนนี้ นักดาราศาสตร์พยา กรณ์ว่า คนไทยทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ
จะมีโอกาสชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์นับร้อยดวงแบบชัดๆ อีกครั้ง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17
ต่อเนื่องไปจนถึงรุ่งเช้า 18 พฤศจิกายน เหตุเพราะเวลาเกิดปรากฏการณ์ตรงกับ "คืนเดือนมืด"
พอดิบพอดี

โดยช่วงเวลาที่คาดว่าจะมองเห็นฝนดาวตกสูงสุด คือ เวลาประมาณ 04.00 น. ของ
วันที่ 18 พฤศจิกายน ตกราวๆ 150-160 ดวงต่อชั่วโมง

ขณะที่ "เจเรอมี่ โวเบลลอน" นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ อเมริกา ชี้ว่า
ช่วงก่อนตีห้าเล็กน้อยตามเวลาประเทศไทย ถ้าโชคดีชาวโลกอาจได้เห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ร่วมๆ
500 ดวง พุ่งสว่างวาบบนฟากฟ้า!

"นับเป็นความโชคดีที่จะได้ชมปรากฏ การณ์ฝนดาวตกในปีนี้ เนื่องจากวันที่ 17-18
พฤศจิกายน เป็นคืนเดือนมืด ท้องฟ้าค่อนข้างมืดสนิท แต่เหตุการณ์ฝนดาวตกช่วงที่ตกมากนั้น
ค่อนข้างสั้น และเกิดก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้น 1 ชั่วโมงเท่านั้น" ประณิตา เสพปันคำ เจ้าหน้าที่
สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. ระบุ

สำหรับสถานที่ที่เหมาะสมกับการดูฝนดาวตกลีโอนิดส์ ถ้าจะให้ดีควรเป็นจุดที่ไม่มีแสงไฟ
รบกวน หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ

ส่วนการถ่ายภาพควรตั้งความไวแสง ISO 400-800 ถ้าใช้กล้องสองตาควรมี
หน้าเลนส์ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร และกำลังขยาย 7 เท่าขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา