วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องของอุจจาระ

Subject: Fw: เรื่องของอุจจาระ





อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยแล้วปล่อยผ่าน มีประโยชน์มากนะ











เรื่องของอุจจาระ

> เมื่อเร็วๆนี้ผู้เขียนได้รับอีเมลฉบับหนึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ
> "อันตรายจากอุจจาระตกค้าง" ระบุว่า
>
> หากคนเราเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กินอาหารที่มีกากใยน้อย มีพยาธิ หรือ
> เชื้อรา ระบบดูดซึมเสีย ไม่ถ่ายอุจจาระเวลา 05.00-07.00 น. เช้า หรือ
> หากถ่ายอุจจาระ หลังเวลา 7 โมงเช้า ลำไส้จะบีบ ให้อุจจาระขึ้นไปข้างบน
> เวลาถ่าย จะถ่ายไม่หมด อุจจาระที่ค้าง ก็จะเกาะที่ผนังลำไส้
> พอมีอุจจาระใหม่ที่เหลวกว่า มันก็แซงหน้าไปก่อน
> แต่มันไม่สามารถดันพวกที่ค้างแข็งให้ออกไปได้ พวกที่ ค้างแข็งไว้
> ก็เกาะติดแน่นไปเรื่อย ๆ อุจจาระตกค้างจะไปทับเส้นเลือดต่าง ๆ
> ในกระเพาะและกดทับกระดูกหลัง ทำให้เกิดอาการมากมาย เช่น ท้องอืด ปวดหลัง
> ปวดขา ปวดกล้ามเนื้อที่ไหล่และสะบัก เวียนหัว อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
> เป็นฝ้า ไมเกรน และอื่น ๆ
>
> เพื่อให้ผู้อ่านหายข้องใจ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบัน
> เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ จะมาไขข้อข้องใจให้ทุกคนได้รับทราบ
>
> นพ.กฤษดา อธิบายว่า เรื่องอุจจาระตกค้าง หรือ อึค้างเป็นเรื่องจริง
> แต่ไม่ทุกคน เราอาจตรวจสัญญาณ อึค้างในลำไส้ใหญ่ได้เองง่ายๆ
> โดยการนอนหงายแล้วเอามือคลำท้องด้านซ้ายล่าง เลยสะดือไปทางซ้ายหน่อย
> แล้วเอานิ้วทั้ง 5 ลองกดดูจนลึกเต็มที่เลื่อนไปมา
> ถ้ามีอึค้างอยู่จะคลำได้เป็นลำคล้ายแท่งยาว ๆ อยู่ตามรูปลักษณ์ของ ลำไส้
> โดยลำไส้ใหญ่นี้จะยิ่งคลำได้ชัดในคนที่ผอม
> สำหรับคนเจ้าเนื้ออาจต้องใช้เทคนิคนอนแล้วแขม่วพุงช่วยแล้วค่อยคลำจะชัดขึ้น
> ที่จริงเรื่องการอึที่ดูเหมือนเป็นกิจวัตรธรรมดาไม่มีอะไรนั้น
> มันต้องมีการฝึกเข้าส้วมกันบ้างให้ติดเป็นนิสัย
>
> กลุ่มคนที่มักมีปัญหาเรื่องอึค้าง ได้แก่
>
> 1.เด็กเล็กที่ให้กินนมแล้วนอนเลย ไม่พาอุ้มพาดบ่าลูบหลัง
> หรือไม่พาขยับตัวกลิ้งไปมาสักนิดหน่อยให้ไส้ได้บีบตัวบ้าง
> และในเด็กที่อึแข็งมาก อึนี่อาจแข็งถึงกับบาดรูก้นได้เป็นแผล
> แล้วครั้งต่อไปเด็กจะไม่อยากอึออกมาเพราะกลัวเจ็บ แผลแยก เลยยิ่งกลั้น
> พอยิ่งกลั้นอึก็ยิ่งแข็งค้างไปเรื่อย
>
> 2.คนที่ผ่าตัดบ่อย
> จะมีพังผืดไปรัดลำไส้ข้างในนุงนังทำให้บีบตัวไม่ดีอาจมีอึค้างอยู่ตามซอกโน้นซอกนี้ในลำไส้
> จนบางท่าน กลายเป็นลำไส้อุดตันไปได้ก็มี
>
> 3.ผู้สูงอายุและคนไข้นอนโรงพยาบาล ที่ไม่ค่อยได้ขยับตัวลุกเดิน
>
> 4.คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายแถมกลั้นอึบ่อย
> โดยเฉพาะท่านที่ทำงานออฟฟิศต้องนั่งแปะอยู่กับที่นานหรืองานเข้าบ่อยต้องขอผลัดเข้าห้องน้ำไปเรื่อยๆก็ไม่ดีครับ
>
> 5.ท่านที่มีลำไส้ยาว คือยิ่งยาวก็ยิ่งเป็นไซโลเก็บอึไว้ได้นานขึ้น
> บางท่านจะสังเกตว่าผักก็กินเยอะ
> แต่อึแค่สัปดาห์ละหนเท่านั้น
>
> สำหรับเทคนิค "อึให้ดี ไม่มีตกค้าง" มีดังนี้
>
> 1.อย่าอั้นอึตอนเช้า เพราะถ้าเลยเช้าไปแล้ว
> กว่าร่างกายจะส่งสัญญาณให้ปวดอีกอาจจะนานจนผิดเวลา
>
> 2.อึให้ตรงกับเวลาเดิม เหมือนเป็นการช่วย "โปรแกรม ลำไส้"
> ให้คอยบีบไล่อึออกมาสม่ำเสมอก็จะไม่ค้างครับ
>
> 3.รอจังหวะขณะอึ ถ้าขณะนั่งห้องน้ำถ่ายหนัก อยู่ ถ้าไม่ปวดอย่าเบ่งครับ
> ให้ลองจับสังเกตว่ามันจะ"ปวดเป็นช่วงๆ"
> แล้วก็คลายไปแล้วประเดี๋ยวก็ปวดบีบขึ้นมาอีก
> นั่นเป็นเพราะลำไส้คนบีบตัวเป็น ลูกคลื่นเหมือนงูเลื้อย
> ถ้ามันเลื้อยมาถึงตรงอึพอดีมันจึงปวดขึ้นมา
> ถ้าเบ่งตอนไม่ปวดจะเหมือนเป็นการ "แกล้งลำไส้"
> ให้เกิดแรงดันขึ้นมาโดยใช่เหตุเกิดโป่งพองขึ้นมาได้ "ริดสีด?งทวาร"
> เป็นของแถม
>
> 4.นวดลำไส้ ถ้าในเด็กให้นวดรอบสะดือ
> ในผู้ใหญ่ให้นวดตรงท้องด้านล่างซ้ายเลยสะดือไป นวดเบาๆ
> ไปมาแล้วทิ้งไว้สักพักจะรู้สึกปวดถ่ายขึ้นมา
>
> 5.เอามือกดท้องด้านซ้ายล่างขณะถ่าย
> หรือจะลุกขึ้นนั่งยองเอาหน้าขาเป็นตัวกดไล่อึออกมา
> เพราะที่จริงแล้วการอึที่ดีตามธรรมชาติของคนคือ"นั่งยอง"
> เพราะจะได้มีแรงกดจากหน้าขาด้วย
> การที่ฝรั่งเอาส้วมแบบนั่งมาให้เราใช้เป็นการผิดธรรมชาติมนุษย์ที่จะไม่มีแรงเบ่งอึมากในท่านั่งห้อยขาทำให้คนเอเชียกลายเป็นทั้งริดสีดวงและท้องผูกมากเหมือนฝรั่งด้วย
>
> 6.ลุกขึ้นเดินไปมา จะทำให้ไส้บีบตัวดี สักพักไส้จะบีบรีดเอา "อึท้ายขบวน"
> ที่เหลือออกมาแล้วเราจะรู้สึกปวดเบ่งอีกที
>
> ไม่ว่าใครก็ตามถ้าความถี่ในการอึน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ถือว่า "ท้องผูก"
> นอกจากออกกำลังกายแล้วอาจใช้อาหารล้างลำไส้ช่วยได้ คือ
>
> 1. น้ำมะขามเปียกก้นครัว
> 2.ลูกพรุนแห้งรับประทานทั้งผล เพราะจะได้กากด้วย ไม่ต้องแยกกินแต่น้ำ
> ยกเว้นถ้าเป็นเด็ก
> 3.แอปเปิ้ลเขียว กินทั้งผลหรือปั่นทั้งกากก็ได้
> 4.ถั่วดำ จัดเป็นอาหารล้างพิษได้ด้วย
> 5.สับปะรดและมะละกอที่มีน้ำย่อยช่วยกัดกากคราบโปรตีนเก่า ๆ
> ที่ถูกย่อยไม่หมดและจะมีสภาพติด
> เป็นอุจจาระยางเหนียวสีดำคล้ายกับ "จาระบี"
> 6.ให้เลี่ยงการ ดื่มน้ำเย็นในตอนเช้า
> โดยให้ดื่มน้ำปกติหรือน้ำอุ่นตอนเช้าขณะตื่นมาท้องว่างจะช่วยให้ไส้บีบรัดตัวได้
> ชวนให้ปวดอึขึ้นมาได้ดีทีเดียว
>
> นพ.กฤษฎา ศิรามพุช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา