วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แกงเลียง แกงส้ม แกงเหลือง มีศักยภาพ ทำให้มะเร็งตายแบบธรรมชาติ‏

> สรุปตามนี้นะคะ...
> น้ำแกงป่า น้ำแกงเลียง
> และน้ำแกงส้มมีศักยภาพให้เซลล์มะเร็งตายแบบธรรมชาติที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์อื่นในร่างกาย
> ได้มากถึง 45 เปอร์เซ็นต์
> ขณะที่แกงเหลืองทำให้เซลล์มะเร็งตายแบบธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีก 15
> เท่าเมื่อเทียบกัน ดีกว่าการใช้ยาถึง 2 เท่า
>
>
>
>
> นักวิชาการโลกฟันธงแล้วชนิดอาหารก่อมะเร็ง
>
>
> บริโภค ' แกงเลียง ' ' แกงเหลือง ' ต้านโรคได้
>
> โรคภัยที่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกมาเป็นอันดับหนึ่งนั้นคือโรคหัวใจและหลอดเลือด
> โรคมะเร็งตามมาอยู่อันดับสอง
> หลายสิบปีมาแล้วที่วงการแพทย์ทั่วโลกพยายามหาสาเหตุของโรคมะเร็งแต่ละอวัยวะเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไข
> เพื่อสรุปให้ได้ข้อชัดเจนเสียทีว่าการบริโภคหรือระบบโภชนาการของมนุษย์โลกเป็นสาเหตุของมะเร็งแต่ละชนิดได้แค่ไหน
> ล่าสุดหน่วยงาน เวิลด์ แคนเซอร์ รีเสิร์ช ฟัน ( World Cancer Research
> Fund) ร่วมกับ อเมริกัน อินสติติว ฟอร์ แคนเซอร์ รีเสิร์ช ( American
> Institue for Cancer Research) ได้ตัดสินและสรุปงานวิจัยกว่า 7,000
> เรื่องที่ศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของอาหาร การออกกำลังกาย ภาวะน้ำหนักเกิน
> และความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง โดยผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก
>
> ชนิพรรณ บุตรยี่ นักวิชาการจากสถาบัน โภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
> ได้นำงานวิจัยนี้มาบรรยายในงานประชุมเรื่อง “
> ความท้าทายทางพิษวิทยาในศตวรรษที่ 21” ว่า งานวิจัยใช้ระยะเวลาสรุปผล 5 ปี
> โดยนำงานวิจัยขนาดใหญ่ที่ใช้กลุ่มตัวอย่างมากสุด ถึง 100,000 คน
> และบางชิ้นมีการเก็บข้อมูลนานนับ 10 ปี ใช้เงินทำวิจัยมหาศาล
> จึงจัดเป็นงานวิจัยที่น่าเชื่อถือและยึดเป็นข้อมูลทางวิชาการได้
> ถือเป็นข้อบ่งชี้ที่แน่ชัดแล้ว
> โดยเน้นเรื่องการกินและการออกกำลังกายเป็นหลัก แบ่งเป็น 3 ระดับ
> ระดับแรกเป็นข้อบ่งชี้ที่แน่นอน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอาหาร วิถีชีวิต
> การออกกำลังกาย สิ่งแวดล้อม
> โดยพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่งต่อการเป็นมะเร็งเต้า นม
> ทั้งวัยหมดประจำเดือนและก่อน มีประจำเดือน มะเร็งช่องปาก คอหอย กล่องเสียง
> หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (เฉพาะผู้ชาย)
> มีไขมันในร่างกายเกินจากค่าดัชนีมวลกายหลังจากอายุ 21 ปีไปแล้ว
> เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมหลังหมดประจำเดือน มะเร็งหลอดอาหาร
> มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งไต และเนื้อเยื่อบุมดลูก
> นอกจากระดับไขมันที่เป็นส่วนเกินแล้วยังแยกย่อยออกมาอีกว่า คนที่อ้วนลงพุง
> มีความเสี่ยงสูงต่อมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
>
> สำหรัอาหารที่คลางแคลงใจกันมานานพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
> ในงานวิจัยนี้ฟันธงออกมาอย่างแน่ชัดแล้วว่า การ บริโภคเนื้อแดง
> ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว แกะ แพะ ในปริมาณที่สูงเกินจะก่อมะเร็งลำไส้
> มีคำแนะนำให้บริโภคเพียงสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม ควรหันมาบริโภคเนื้อสีขาว
> อย่างเนื้อไก่ หมู หรือปลา รวมทั้งเนื้อสัตว์ที่ผ่าน กระบวนการปรุงแต่ง
> ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอก แฮม เบคอน อาหารเหล่านี้ต้อง รมควัน บางครั้งต้อง
> ปรุงรส ใช้เคมีเพื่อให้สี รสชาติและมวลของอาหารอยู่ครบ เป็นอาหาร
> ที่กินแล้วก่อมะเร็งเช่นกัน ที่น่าตกใจพบว่าการ บริโภคเบต้าแคโรทีน
> ในรูปแบบอาหารเสริม จะเร่งให้เกิดมะเร็ง แต่ เบต้าแคโรทีนจะให้ผล
> ต่อร่างกายสูงสุดเมื่อ บริโภคผักผลไม้สด ๆ ที่มีสารเหล่านี้
> ประเภทผลไม้สีเหลือง เช่น มะละกอ มะม่วง แครอท
>
> ขณะเดียวกันเมื่อมนุษย์ขึ้นสู่วัยหนุ่มสาวออกกำลังกายแบบแอโรบิก
> ที่ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดอย่างสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีจนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
> จะช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งเต้านม (
> โดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน) และมะเร็งเนื้อเยื่อบุมดลูก
> นอกจากนี้ผลวิจัยเป็นที่แน่นอนแล้วว่าแม่ควรให้นมลูกและเด็กทารกควรที่จะได้รับน้ำนมแม่
> สามารถ ลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมทั้งก่อนและหลังหมดประจำเดือน
> ทั้งนี้ควรให้นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 6
> เดือนโดยไม่มีการให้อาหาร หรือเครื่องดื่มใด ๆ เลย รวมทั้งน้ำด้วย
>
>
>
>
>
>
> ต่อมาข้อสรุปลำดับที่ 2
> เรียกว่าเป็นที่แน่นอนบ่งชัดเจนหากเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ในข้อนี้ 80
> เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในข้อแรกเชื่อได้ 90 เปอร์ เซ็นต์
> ในข้อนี้เน้นหนักด้านอาหารพบว่าการบริโภคผักใบ
> ลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งช่องปากคอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร
> ผักกลุ่มหอมป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
> การบริโภคผลไม้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด
> ช่องปาก คอหอย กล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร
>
> ลำดับที่ 3
> ลดหลั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ลงมาภายใต้เงื่อนไขเดียวกันคือความสัมพันธ์ของอาหาร
> วิถีชีวิต ในข้อนี้เรียกว่ามีความเป็นไปได้พบว่าการบริโภคอาหารที่มีไลโคปีน
> ซึ่งมีมากในมะเขือเทศลดความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก
>
> นักวิชาการคนเดิมจากสถาบันโภชนาการ ม.มหดิล บอกอีกว่า
> แม้สารไลโคปีนจะมีมากในมะเขือเทศแต่ถ้าไม่ทำให้มะเขือป่นละเอียดบริโภคไปร่างกายก็ไม่ได้
> รับสารไลโคปีนอยู่ดี ดังนั้นการบริโภคมะเขือเทศสด แบบชิ้น ๆ
> กับการบริโภคซอสมะเขือเทศอย่างหลังได้รับ ไลโคปีนมากกว่า
> นอกจากในงานวิจัยเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อป้องกันมะเร็ง
> นักวิชาการทั่วโลกแนะนำว่าไม่ควรบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อป้องกันมะเร็ง
> เว้นแต่เจ็บป่วยหรือมีภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง
>
> ปัจจุบันพฤติรรมการกินอาหารของคนไทยเปลี่ยนไปโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและคนวัยหนุ่มสาวบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น
> ที่เห็นได้ชัดจากวัฒน ธรรมการกินอาหารบุฟเฟ่ต์ ร้านเนื้อย่างหมูกระทะต่าง
> ๆ สอดคล้องกับงานวิจัยนี้
> ข้อแนะนำของการกินเพื่อต้านมะเร็งในแบบไทยซึ่งแม้งานวิจัยยังไม่ได้ถูกเลือกจากนักวิชาการ
> เพราะเป็นงานวิจัยขนาดเล็ก ตามอัตภาพของทุนที่มี
> แต่น่าชื่อถือและนำไปใช้ได้
>
> ในงานประชุมดังกล่าวข้างต้น ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล
> นักวิชาการจากสถาบันเดียวกัน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาเรื่อง “
> ศักยภาพต้านมะเร็งของตำรับอาหารไทย ”
>
> ดร.สมศรี กล่าวว่า
> ได้ศึกษาเรื่องนำสมุนไพรต่างชนิดมาทำเป็นน้ำพริกแกงต่าง ๆ
> ได้ทดลองสารสกัดของน้ำพริกแกง 4 ชนิด ได้แก่ น้ำพริกแกงป่า แกงเลียง แกงส้ม
> แกงเหลือง และน้ำต้มยำนำมาเลี้ยงเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว พบว่าน้ำแกงป่า
> น้ำแกงเลียง
> และน้ำแกงส้มมีศักยภาพให้เซลล์มะเร็งตายแบบธรรมชาติที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์อื่นในร่างกาย
> ได้มากถึง 45 เปอร์เซ็นต์
> ขณะที่แกงเหลืองทำให้เซลล์มะเร็งตายแบบธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีก 15
> เท่าเมื่อเทียบกัน ดีกว่าการใช้ยาถึง 2 เท่า
> สมุนไพรสำคัญในเครื่องแกงน่าจะมาจากกระเทียมและพริกรวมทั้งสมุนไพรอื่น ๆ
>
> จากงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าการบริโภคอาหารที่เป็นสำรับแบบไทย อาทิ
> แกงเลียงกุ้งสด ห่อหมกใบยอ ไก่ผัดเม็ดมะม่วง ข้าวสวย หรือ สำรับ ข้าวเหนียว
> ส้มตำใส่ แครอท ไก่ทอดสมุนไพร ต้มยำ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง
>
> สอดรับกับงานวิจัยระดับโลกที่ว่าอาหารการกินเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนห่างไกลมะเร็งได้อยู่.
> ________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา