วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

save turtles

แม้มีเจตนาเป็นบุญ แต่ก็ต้องใช้ความรอบคอบและคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนนะคะ

ไม่งั้นจะกลายเป็น ทำบุญบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป ไปซะเปล่า ๆ ค่ะ





การปล่อยปลาปล่อยเต่าในวัด คือทำบุญหรือทำบาป ?

คำถามที่มีคำตอบจาก Professor เกี่ยวกับสัตว์น้ำและเต่าของ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง) รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์ป่า ผู้ก่อตั้งชมรมรักษ์เต่า

วันพระ วันออกพรรษา วันมงคลต่างๆ ทุกคนต่างมุ่งหน้าเข้าหาวัด เพื่อปล่อยนำปล่อยปลา เพราะเชื่อว่าเป็นการทำบุญปล่อยอิสรภาพให้สัตว์เหล่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการกระทำด ังกล่าว กลับเป็นตรงข้าม เพราะแท้ที่จริงแล้ว "วัดคือนรก" ของสัตว์เหล่านี้ เพราะเต่า นก และปลา ถูกใช้เป็นสินค้าเพื่อการทำบุญของคนทำบาป หลายคนที่ชอบทำบุญปล่อยนก ปล่อยปลา หรือปล่อยเต่า ไม่เคยทราบว่าแท้ที่จริงแล้วคือการปล่อยให้สัตว์เหล่านี้ไปสู่จุดจบของชีวิต ไม่ก็ถูกนำมารีไซเคิลเพื่อขายต่อ

หมอหนิ่ง ได้คลุกคลีในแวดวงสัตว์น้ำ ได้มองเห็นถึงปัญหาและต้องการสะท้อนไปสู่สังคมให้รู้จักทำบุญอย่างถูกวิธี เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงเกิด โครงการ ช่วยเต่าจากวัด โดยเริ่มต้นจากวัดบวรฯ

"หน้าที่ของดิฉันคือช่วยสัตว์จรจัดที่ไม่มีใครเหลี่ยวแลอย่างเข่น เต่า ซึ่งดิฉันทำอยู่กับคุณขจร จิระวนนท์ Rescue เต่าวัด เพราะวัดเป็นนรกของสัตว์

..เริ่มแรกพระโทร.มาบอกว่าเต่าตายเห็นสภาพเต่ามีปลิงเกาะ ไม่มีที่ตากแดดให้ปลิงออก เจาะเลือดออกมาจึงรู้ว่าเพราะสารเคมีในน้ำคลองที่วัดทำให้เต่าตาย เพราะฉะนั้นใครเอาสัตว์ปล่อยวัดคิดให้ดีว่าทำบุญหรือทำบาป " หมอหนิ่งเล่าถึงภารกิจในการช่วยชีวิตเต่า

ภารกิจของหมอหนิ่งในการช่วยชีวิตเต่าในวัด เริ่มจากเต่า 500 ตัวในวัดบวรฯ ซึ่งเป็นวัดใหญ่ที่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าอาวาสอย่างดี แต่การเดินทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ปัญหาเรื่องทุนทรัพย์ เครื่องมือ บุคลากร ตลอดจนความเข้าใจของแต่ละฝ่าย ทำให้การทำงานเพื่อช่วยเต่าไม่สามารถเดินไปไกลเท่าที่ควร แต่หมอหนิ่งก็เลือกที่จะเดินหน้าต่อไปเพื่อช่วยเหลือเต่า สัตว์ที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบขององค์กรใดๆ

สิ่งหนึ่งที่ช่วยแบ่งเบาภาระของหมอหนิ่งได้ คือการส่งผ่านความเข้าใจไปยังคนในสังคม ทั้งชาวบ้านที่ค้าขายเต่าในวัด พระ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่ชอบเลี้ยงเต่าหรือชอบทำบุญปล่อยเต่าให้มีความเข้าใจที่ถูกในเบื้องต้น หมอหนิ่งบอกว่า

"ก่อนจะเลี้ยงสัตว์อะไรเราต้องศึกษาให้รู้ว่าเขากินอย่างไร และอยู่อย่างไร ถึงจะไปซื้อมาเลี้ยง และสัตว์ที่มาจากแหล่งค้าส่วนใหญ่ตจะมีโรคเยอะมักจะไม่รอด หลังจากซื้อมาแล้วควรนำไปให้สัตวแพทย์ตรวจก่อน "

การนำเต่าจากวัดมารักษาภารกิจที่ทำด้วยหัวใจของหมอหนิ่ง เมื่อรักษาเต่าจนหายดีจะต้องมีบ้านให้เต่าอยู่ออกสู่อิสรภาพ โดยล็อทแรกได้ปล่อยที่คลอง 14 ภารกิจหน้าที่ทั้งหมดได้เงินช่วยเหลือจากโครงการ ซึ่งหมอหนิ่งบอกว่า "เงินเกินบัญชีเยอะ และควักเงินส่วนตัวตลอด"

ในขณะนี้การเดินทางเพื่อช่วยเหลือเต่าจรจัดต้องประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาด้านทุนทรัพย์ในการนำมาต่อยอดเพื่อช่วยต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติมจากรายการจุดเปลี่ยน ตอน 2ออกอากาศวันที่17 มี.ค.2550 ที่ทีมงานสัมภาษณ์ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง) สรุปมาได้ว่า

ในการปล่อยเต่านั้น

1 ท่านต้องรู้ว่าเต่าที่ท่านจะปล่อยนั้นคือ เต่าบกหรือเต่าน้ำ เพราะเต่าไม่ใช่สัตว์น้ำแต่เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน

เต่าบก ที่เท้าจะคล้ายๆเท้าช้าง ขายาว กระดองรูปร่างนูนขึ้นมากกว่าเต่าน้ำ
เต่าน้ำ เท้าจะแบน ขาสั้น เอาไว้ไหว้น้ำ

ถ้าปล่อยเต่าบกลงน้ำเต่าจะจมน้ำตายได้ เพราะเต่าหายใจด้วยปอดเหมือนมนุษย์

2 สถานที่ปล่อย จะต้องเป็นบริเวณที่มีตลิ่ง เพื่อให้เต่าขึ้นมาพักผึ่งแดดได้ และน้ำไม่ไหลเชี่ยวจนเกินไป

การที่เต่าต้องขึ้นมาพักบนตลิ่งเพราะ

2.1 เต่าต้องการพักหายใจ และพักเหนื่อย เพราะเต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ใช้สัตว์น้ำ( โรงเรียนเราสอนผิดมาโดยตลอด ) จึงว่ายน้ำตลอดเวลาเหมือนปลาไม่ได้

2.2 เต่าต้องการผึ่งแดด เพื่อให้ปลิงที่ติดอยู่ตามตัวหลุดออก มิฉะนั้นเต่าอาจป่วยได้ และเต่าต้องอาศัยแสงแดดในการสร้างวิตามินที่จำเป็นสำหรับร่างกาย

ดังนั้นการปล่อยเต่าน้ำลงในบริเวณที่ๆไม่มีตลิ่งให้เต่าขึ้นมาผึ่งแดด เช่น ตามคลองประปา ,บ่อน้ำในวัดที่มีการก่อคอนกรีดเป็นบล็อกสูงๆ ( บ่อในวัดบวรฯ ที่หมอหนิ่งไปช่วยมา ) คือการทำร้ายเต่าอย่างทารุนโหดร้ายมากๆ

แม้ว่าบางวัด หรือบางสถานที่จะมีการต่อแพ ให้เต่าขึ้นมาผึ่งแดดได้แต่นั่นไม่ใช่สถานที่อยู่ตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงของเต่า เปรียบเหมือนเราถูกจับไปขังคุก เขามีข้าวให้กินมี ที่ให้นอน แล้วเราชอบหรือไม่ ถ้าเราไม่ชอบเต่าก็เช่นเดียวกับเรา

3 สภาพน้ำบริเวณที่จะปล่อย ต้อง ไม่สกปรก ถ่ายเทยาก และแออัด เช่น บ่อน้ำในวัดบวรฯ กทม.

มีเต่าหลายตัวที่หมอหนิ่ง และเพื่อนชมรมรักษ์เต่า ได้ช่วยชีวิตขึ้นมาจากในวัดบวรฯ สถานที่ทำบุญของเรานี่แหละ

หลายตัวติดเชื้ออย่างรุนแรง กระดองแตก กระดองเปื่อยยุ่ยจนลึกเข้าไปถึงกระดูกเต่าชั้นใน (กระดองเป็นกระดูกเต่าชั้นนอก)

หลายตัวมีเลือดจางมากต้องให้วิตามีนเพื่อการบำบัดฟื้นฟู

บางตัวอาการโคม่าต้องให้น้ำเกลือกันเลย

หลายตัวสุขภาพอ่อนแอเพราะ มีปลิงเกาะอยู่ตามร่างกายเป็นจำนวนมากสมาชิกชมรมรักษ์เต่า ต้องช่วยกันนำไปแช่น้ำเกลือ แล้งใช้ผ้าเช็ดออก

เต่าทุกตัวที่ชมรมรักษ์เต่า ช่วยมาไดนั้น จะนำไปบำบัดฟื้นฟูอีกที่ในสถานอนุบาลสัตว์น้ำที่ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี

รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง)เป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
เมื่อเต่าหายดี แล้วจะมีการนำไปปล่อยยังที่ๆเหมาะสมชนิดของเต่า เพราะเต่ามีแยกออกไปมากมายหลายชนิด เช่น เต่านาต้องการอาศัยในที่ชื้นแฉะแบบในนาข้าวเป็นต้น ดังนั้นถ้าคิดจะปล่อยเต่าต้องแน่ใจว่าเราปล่อยเต่าในสภาพที่เหมาะกับเค้าหรือไม่

โครงการคืนชีวิตเต่าสู่ธรรมชาติ

วันที่ 8ก.พ. 2550 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
โครงการช่วยเต่าในวัดบวรฯ จากที่รายการไปถ่ายทำมา เห็นว่าทำกันมา 4ปีแล้ว

หากผู้มีจิตศรัทธาท่านใดอยากเข้ามามีส่วนช่วยทำบุญในครั้งนี้สามารถติดต่อได้ที่

ชมรมรักษ์เต่า 02-699-3110-1

ช่วยกรุณาส่งต่อวิธีการปล่อยเต่าที่ถูกต้องไปยังเพื่อนๆหรือใครก็ตามที่คุณรู้จักเพื่อที่เขาจะได้ ปล่อยสัตว์ได้บุญ มิใช้ปล่อยสัตว์ได้บาปอย่างที่แล้วๆมานะคะ ขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่เข้ามาอ่าน และช่วยเผยแพร่กระทู้นี้ด้วย







ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี่เอง ถ้าใครไปไม่ถูกลองนึกภาพสยามสแควร์ ตรงถนนอังรีดูนัง ฝั่งเดียวกับแคนตันสุกี้ ถ้าขับรถมาจากถนนพระราม 4 เมื่อเลี้ยวเข้า ถนนอังรีดูนังแล้วก็ตรงมาเรื่อยๆ จนถึง โรงเรียนเตรียมอุดม สังเกตสะพานลอยคนข้ามถนนครับ ทางเข้าคณะจะอยู่ระหว่างโรงเรียนเตรียมอุดมกับทางเข้าสยามสแควร์ มองด้านซ้ายมือให้ดีนะครับจะได้ไม่หลงทาง

เมื่อเลี้ยวเข้าไปแล้วก็ตรงไปสัก 50 เมตรจะเจอตึกสูงประมาณ 4 ชั้น อยู่ด้านขวามือ หาที่จอดแถวนั้นเลย ที่จอดรถจะมีมากพอสมควร เพราะเขาไม่อนุญาตให้นักศึกษาและบุคคลภายนอกเข้าไปจอด จอดรถแล้วก็เดินเข้าตึกไปเลยไปแลกบัตรผ่านก่อนแล้วก็ขึ้นลิฟท์ไปที่ ชั้น 2 ดูตามป้ายบอกทางได้เลย

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนนอังรีดูนัง ปทุมวัน กทม. โทร. 02-2189510 , 02-2189514
เปิดจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น.





เต่าบก ที่เท้าจะคล้ายๆเท้าช้าง ขายาว กระดองรูปร่างนูน ขึ้นมากกว่าเต่าน้ำ

ถ้าปล่อยเต่าบกลงน้ำ เต่าจะจมน้ำตายได้ เพราะเต่าหายใจด้วยปอดเหมือนมนุษย์


เต่าน้ำ เท้าจะแบน ขาสั้น เอาไว้ไหว้น้ำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา