วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

ชา ชูกำลัง‏

ใบชาต้มเป็นน้ำชาที่ได้จากการต้มใบชาด้วยน้ำ การนำใบชามาต้มจะทำให้ได้ตัวยาสำคัญในใบชามากขึ้น โดยเฉพาะสารฝาด (tannins) ที่อาจทำให้ท้องผูก และอัลคาลอยด์ (alkaloids) ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น คาเฟอีน (caffeine) เธโอโบรมีน (theobromine) น้ำชาที่เป็นเครื่องดื่มที่รู้จักกันดีทั่วโลกนั้นได้จากการชงใบอ่อน และยอดอ่อนแห้งของต้นชา อันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Camellia sinensis (L.) Kuntze มีชื่อพ้อง Thea sinensis L. .นวงศ์ Theaceae (เดิมวงศ์ Camelliaceae) รวมถึงสายพันธุ์ต่าง ๆ ของพืชชนิดนี้ ชาอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ



ชาดำ (black tea)

หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาฝรั่ง" เตรียมได้โดยการเอาใบชาที่เก็บมาได้ เอามากองสุมไว้ เพื่อให้เกิดการหมัก (fermentation) ขณะที่หมักไว้อาจจะบดหรือขยี้ใบชาเพื่อช่วยเร่งการหมักให้เร็วขึ้น ในขั้นตอนของการหมักนี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารสำคัญในใบชา เมื่อหมักจนได้ที่ตามที่ต้องการแล้ว ก็จะนำไปทำให้แห้ง ใบชาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม อันเนื่องมาจากสารสีบางชนิดที่เกิดขึ้นระหว่างการหมัก โดยการใช้ความร้อนที่พอเหมาะ มีชาอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ชาอูล่ง" เป็นชาที่ผ่านการหมักเพื่อให้เกิดออกซิเดชันเพียงบางส่วน เรียกได้ว่าผ่านกรรมวิธีการหมักเพื่อทำชาดำ บางตำราจึงจัดเป็น "ชาดำ" ประเภทหนึ่ง บางตำราจัดแยกออกมาเป็นชาอีกประเภทหนึ่ง


ชาเขียว (green tea)

หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ จีน" เป็นชาที่นิยมดื่มในจีนและญี่ปุ่น ทำได้โดยการเอาใบชาสดที่เก็บได้มาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดง โดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปนัก โดยใช้มือคลึงเบา ๆ ก่อนแห้ง ชาเขียวที่มีคุณภาพดีได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด จีนเรียก "บู๋อี๋" (ฮกเกี้ยน) ใบชาใบคู่ที่สามและคู่ที่สี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง จีนเรียก "อันเคย" (ฮกเกี้ยน) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและคู่ที่หกจากปลายยอดจะให้ชาชั้นเลว จีนเรียก "ล่ำก๋อง" (ฮกเกี้ยน)
ชาเขียวอาจจะแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภทคือ "ชาคอ" (breast tea) ที่ดื่มแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ และ "ชากลิ่น" (scented tea) ที่มีกลิ่นหอม เนื่องจากอบด้วยกลิ่นหอมจากดอกไม้ เช่น ดอกมะลิ ดอกประยงค์ ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า น้ำชามีรสฝาด ชุ่มคอ มีสรรพคุณฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ท้องเสีย ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ทำให้คึกคักมีชีวิตชีวา การดื่มน้ำชาในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ใจสั่น เนื่องจากสารคาเฟอีนในชา อาจทำให้ท้องผูก เนื่องจากสารฝาด การดื่มน้ำชามากเกินไปยังอาจทำให้เกิดอาการเหน็บชา หรือโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากขาดวิตามินบีหนึ่ง และธาตุเหล็ก เพราะมีรายงานว่า สารพอลีฟีนิล (polyphenols) ในชาเขียวอาจยับยั้งการดูดซึมวิตามินบีหนึ่งและธาตุเหล็กจากทางเดินอาหาร การขาดวิตามินบีหนึ่ง อาจทำให้เป็นโรคเหน็บชาได้ ส่วนธาตุเหล็กซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง หากขาดจะทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้
ไปว่า "ชา
ปัจจุบันเราทราบว่าการดื่มชาเขียววันละ 4-5 ถ้วย จะทำให้สุขภาพดี มีอายุยืน และช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลายอย่าง เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ยังมีชาสมุนไพรของไทยหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น



ชาหญ้าหวาน ซึ่งจะให้ความหวานกว่าน้ำตาล 300 เท่า ไม่ทำให้อ้วน เหมาะสำหรับผู้เป็นเบาหวานและไขมันในเลือดสูง
ชาชะเอม สรรพคุณรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ รักษาเส้นเลือดขอด บรรเทาอาการผิวหนังแตกเป็นขุย
ชาเคยหอม สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ ชูกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ และมีกลิ่นเตยหอมที่ทานแล้วชื่นใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา